ผู้เขียน หัวข้อ: 16 พ.ย. 2553 นี้ ทางสำนักจุฬาราชมนตรี ได้ประกาศให้เป็นวันตรุษอีดิ้ลอัฏฮา  (อ่าน 2231 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ danai8029

  • Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 782
  • คะแนนน้ำใจ: 4
    • อีเมล์
ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 นี้ ทางสำนักจุฬาราชมนตรี ได้ประกาศให้เป็นวันฮารีรายอหรือตรุษอีดิ้ลอัฏฮา ของพี่น้องมุสลิม ด้วยมีรายงานว่ามีคนเห็นเดือนแล้ว



         ตุรษหรือวันอีด มีกิจกรรมต่างมากมาย เริ่มด้วยกับการกล่าวตักบีร(การสรรเสริญพระเจ้า) การไปร่วมละหมาด(นมัสการ) ที่มัสยิด วันนี้มวลมุสลิมจะมีความสุขมาก ศาสนาให้ทุกๆคนทั้งชายหญิงเด็กผู้ใหญ่ อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ให้แต่งกายในชุดที่ดีที่สุด ใส่ของหอมๆ และไปมัสยิด ศาสนพิธีที่มัสยิดนอกจากละหมาดแล้ว ทุกคนจะต้องฟังการคุตบะฮ์(เทศนาธรรม) จากนั้นประเพณีแต่ละท้องถิ่นอาจจะแตกต่างกันบ้าง บางท้องถิ่นอาจจะมีการกินเลี้ยงกันที่มัสยิด โดยทุกคนจะออกมาช่วยกัน ในอดีตสมัยผมเด็กๆจะสนุกสนานมาก ตื่นเต้นมาก จะไปหาใบตอง กล้วย เพื่อจะมาทำข้าวต้มมัด หรือขนมต่าง นำของกินดังกล่าวไปให้เพื่อนบ้านและเพื่อนบ้านก็จะมอบขนมอื่นๆที่ทำกลับมา เป็นการแลกเปลี่ยน บางครั้งในบ้านแต่ละบ้านจะมีขนมกินกันไปสองสามวัน นอกจากนั้นบางหมู่บ้านก็ไปรำลึกถึงบรรพบุรุษ ร่วมขอพรให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว


          ในวันตรุษนี้ศาสนาให้มีการเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน ขอมาอาฟ(ขออภัย)ซึ่งกันและกัน ใครที่ทำผิดต่อกันก็ให้วันนี้เป็นวันเริ่มต้น ขอโทษ ให้อภัย ซึ่งกันและกัน บรรดาลูกหลานก็จะออกเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่คนเฒ่าคนแก่

          ซุลหิญญะฮฺ เป็นเดือนสุดท้ายของปีฮิญเราะฮฺศักราชหรือปฏิทินอิสลาม (ปีนี้ตรงกับ 7 พ.ย. - 6 ธ.ค 2553) หมายถึงเดือนแห่งการทำฮัจญ์ ซึ่งบรรดามุสลิมทั่วโลกที่มีความสามารถไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครมักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอารเบียและมุสลิมทุกคนรอคอยการมาเยือนของวัน อีดิ้ลอัฎฮา(ฮารีรายาหะยี) ดังนั้นเดือนนี้จึงเป็นเดือนที่ยิ่งใหญ่และประเสริฐอีกเดือนหนึ่ง  เดือนนี้มุสลิมผู้เคร่งศาสนาโดยเฉพาะผู้สูงอายุชาวใต้ที่ไม่มีโอกาสไปทำ ฮัจญฺ์ก็จะปฏิบัติศาสนกิจพอสรุป ได้ดังต่อไปนี้

       1.  ถือศีลอด  9 วันแรกของเดือนซุลหิญญะฮฺ  9 วันแรกของเดือนซุลหิญญะฮฺ ศาสดามุฮัมมัดทรงมีวจนะความ ว่า: “ได้มีรายงานจากท่าน อิบนิอับบาส (อัครสาวกศาสดา)ว่า ท่านศาสดาได้กล่าวว่าวันซึ่งอัลลอฮฺเจ้าทรงอภัยโทษแก่ศาสดาอาดัมก็คือวันที่ หนึ่งของเดือนซุลหิญญะฮฺ ผู้ใดที่ทำการถือศีลอดในวันดังกล่าว อัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษบาปทั้งหมดของเขา  วัน ที่ 2 อัลลอฮฺทรงรับการขอพรของศาสดายูนุส โดยอัลลอฮฺทรงนำท่านศาสดายูนุสออกมาจากท้องปลาวาฬ ผู้ใดถือศีลอดในวันดังกล่าว เขาจะเปรียบเสมือนทำความดีต่ออัลลอฮฺ 1 ปี โดยมิได้ฝ่าฝืนบัญญัติของอัลลอฮฺ  ในการทำความดีของเขาแม้ชั่วพริบตาเดียว วันที่ 3 อัลลอฮฺทรงรับการขอพรจากศาสดาซาการียา อลัยฮิสลาม ผู้หนึ่งผู้ใดถือศีลอดในวันดังกล่าว อัลลอฮฺจะทรงรับการขอพรของเขา วันที่ 4 เป็นวันที่ศาสดาอีซา อลัยฮิสลาม ทรงประสูติ ผู้หนึ่งผู้ใดถือศีลอดในวันนี้  อัลลอฮฺจะทรงทำให้ความเศร้าโศกเสียใจและความยากจนหมดไป และในวันสิ้นโลกเขาจะอยู่ในกลุ่มของนักเดินทางผู้มีคุณธรรมและทรงเกียรติ วัน ที่ 5 เป็นวันที่ศาสดามูซา อลัยฮิสลาม ทรงประสูติ ผู้ใดถือศีลอดในวันดังกล่าว เขาจะบริสุทธิ์จากการเป็นมุนาฟิก(หน้าไหว้หลังหลอก) และพ้นจากการลงโทษในสุสาน วันที่ 6 เป็นวันซึ่งอัลลอฮฺ ทรงประทาน ความดีให้แก่ท่านศาสดามุฮัมมัด ผู้หนึ่งผู้ใดทำการถือศีลอดในวันดังกล่าว อัลลอฮฺจะทรงทอดพระเนตรมายังเขาด้วยความเมตตา ฉะนั้นเขาจะไม่ถูกลงโทษหลังจากนั้นตลอดไป วันที่ 7 คือ วันที่ประตูนรกถูกปิดและมันจะไม่ถูกเปิด จนกระทั่งวันที่ 10 ของเดือนซุลหิญญะฮฺล่วงเลยไป ผู้ใดที่ถือศีลอดในวันนี้อัลลอฮฺจะทรงปิดสามสิบประตูแห่งความยุ่งยาก และเปิดสามสิบประตูแห่งความสะดวกง่ายดายแก่เขา วันที่ 8 ซึ่งถูกขนานนามว่าวัน “ตัรวียะฮฺ” ผู้ใดถือศีลอดในวันนี้ อัลลอฮฺ  จะทรงตอบแทนความดี ซึ่งไม่มีผู้ใดรู้นอกจากอัลลอฮฺ วันที่ 9 คือ วันอะรอฟะฮฺ ผู้ใดถือศีลอดในวันนี้ อัลลอฮฺจะทรงลบล้างความผิดต่างๆ ในปีที่ผ่านมาและปีต่อไป”

          2. วันอีดิ้ลอัฎฮา  ตรงกับวันที่  10  เดือนซุลฮิญญะห์     วันตรุษอีดิ๊ลอัฎฮาเป็นคำภาษาอาหรับ  มาจากคำว่า  อีด  แปลว่า  รื่นเริง  เฉลิมฉลอง  และ  อัฎฮา  แปลว่า  เชือดสัตว์พลีทาน  ดังนั้น  วันตรุษอีดิ๊ลอัฎฮา  จึงหมายถึง  วันเฉลิมฉลองการ  เชือดสัตว์เพื่อพลีทาน

          ภารกิจและข้อควรปฏิบัติในวันตรุษาอีดิลอัฎฮา
         ก.  ภารกิจก่อนละหมาด
        1.  การตักบีร  (สรรเสริญความยิ่งใหญ่ต่ออัลลอฮ์ตลอดเวลา)  ดังที่อัลลอฮ์ได้ดำรัสในอัลกุรอ่าน  ความว่า  “และท่านทั้งหลายจงกล่าวตักบีร  อย่างกึกก้องต่อพระองค์”  (ซูเราะห์อัลอิสรอ  อายะที่  111)
        2.  อาบน้ำและทำความสะอาดร่างกายก่อนสวมใส่เสื้อผ้าไปยังสถานที่ละหมาด  พร้อมทั้งขจัดขนของอวัยวะเพศ  ขนรักแร้  ตัดเล็บ  และขจัดกลิ่นกาย  (โปรดดูบันทึกอีหม่ามมาลิก  1/177  และอีหม่ามซาฟีอี ในหนังสือมุสนัด  หมายเลข  88)
        3.  แต่งกายด้วยอาภรณ์ที่สวยงาม  พร้อมทั้งใช้น้ำหอมยกเว้นสตรี
        4.  รับประทานอาหารเบา  ก่อนที่จะไปละหมาด  (ดังที่อีหม่ามตัรมีซีย์  ได้บันทึกไว้ในหนังสือฮาดิษของท่าน  หมายเลข  542)
        5.  ไปยังสถานที่ละหมาดตั้งแต่เช้า  โดยเฉพาะมะมูม  (ผู้ตามละหมาด)  ด้วยวิธีดังต่อไปนี้  (สมควรแต่ไม่ใช่เป็นการบังคับ)
 
          -  ออกไปและกลับด้วยการเดินเท้า
          -  การเดินไปและกลับจากการละหมาดควรใช้เส้นทางต่างกัน
          - กล่าวสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์  ตลอดเวลาขณะเดินทาง

          การ ละหมาดตรุษวันตรุษอีดิลอัฎฮา ถือเป็นศาสนกิจที่สำคัญที่สุดของวันนี้  มุสลิมทุกเพศ-วัย ควรไปร่วมละหมาดที่มัสยิดหรือลานกว้างที่ทางหมู่บ้านจัดเตรียมไว้  (จากบางทัศนะของอุลามาอ)  จะเริ่มทำในช่วงดวงอาทิตย์ขึ้นประมาณครึ่งชั่วโมง  (ประมาณ  7.10  น.)
         ทิศทางการละหมาดมุสลิมทั่วโลกจะหันหน้าไปทาง นครมักกะฮฺ  โดยมีศูนย์กลาง ณ ที่ตั้งหินกาบะ ซึ่งมุสลิมจากทั่วโลกเดินทางไปร่วมพิธีฮัจญ์

         ข.  ภารกิจหลังละหมาดอีด
       ทุกคนต้องฟังคุตบะห์  (ฟังธรรมเทศนา)  จากนั้นทุกคนต่างก็แสดงความยินดีปรีดาต่อกัน  ขออภัยต่อกันในสิ่งที่ได้ล่วงละเมิด  ทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม จากนั้นควรบริจาคทานกับเด็ก  คนชรา  หรือใครๆ ก็ได้  ที่ตัวเองประสงค์จะทำทาน  ออกไปเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน  อาจจะจัดกิจกรรมบนเวทีให้กับเด็กๆ  เพื่อมอบความสุขให้กับเขาเหล่านั้นและที่สำคัญทีสุดคือ  เชือดสัตว์พลีทาน  (กุรบ่าน) ผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะทำได้  ไม่ควรละเลยข้อปฏิบัตินี้อย่างน้อยก็สักครั้งหนึ่งในชีวิต
        จากท่านอิบนี่อับบาสเล่าว่า  ท่านรอซู้ลลุลเลาะฮ์หรือศาสดาทรงกล่าวว่า  ในวันอีดิ้ลอัดฎาไม่มีการภักดีใดๆของมนุษย์จะเป็นที่โปรดปรานรักใคร่ของอัล ลอฮ์  ดียิ่งไปกว่าการทำกุรบ่าน
          กำหนดเวลาการทำกุรบ่าน
   เริ่มเชือดกุรบ่านได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นของเช้าวันอีดิลอัฎฮา(หลัง ละหมาด)  จนถึงเวลาละหมาดอัสรีของวันที่  4  ของวันอีดรวม  4  วัน  (วันอีด  1  วันตัสริก  3  วัน )  แต่ระยะเวลาที่ดีเยี่ยมควรเชือดกุรบ่าน  คือหลังจากเสร็จการละหมาดอีดิลอัฎฮาแล้ว  การเชือดควรให้เจ้าของเป็นผู้เชือดเองหากจะมอบให้ผู้อื่นเชือดก็ควรดูการ เชือดด้วย
 
        สัตว์ที่ใช้ทำกุรบ่าน  คือ  อูฐ  วัว  ควาย  แพะ  แกะ  กีบัช
       อูฐ  ต้องมีอายุ  5  ปีบริบูรณ์  ใช้ทำกุรบ่านได้  7  ส่วน  ดังนั้น  จึงรวมกันทำ  7  คน/อูฐตัวเดียวก็ได้  หรือจะทำคนเดียวก็ยิ่งดี
       วัว  ควาย  ต้องมีอายุ  2  ปีบริบูรณ์  ทำกุรบ่านได้  7  ส่วน
       แพะ  ต้องมีอายุ  2  ปีบริบูรณ์  ทำกุรบ่านได้  1  ส่วน
     แกะและกิบัช  ต้องมีอายุ  1  ปีบริบูรณ์  หรือเปลี่ยนฟันแล้ว   ทำกุรบ่านได้  1  ส่วน
      สัตว์จะทำกุรบ่าน  ต้องอ้วนสมบูรณ์ปราศจากสิ่งตำหนิหรือโรค  ควรมีลักษณะสวยงามสง่า
       สัตว์ที่ห้ามทำกุรบ่านไม่ได้  ได้แก่  สัตว์ที่เป็นโรค  หรือพิการหรือไม่สมประกอบ  เช่น  ตาบอด  หูแหว่ง  เขาหัก  ไม่มีฟัน  แคระแก่น  มีท้อง
       เนื้อสัตว์ที่ทำกุรบ่านนั้น  ให้แจกจ่ายแก่คนยากจนและเพื่อนบ้าน  ควรเก็บไว้กินเองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
     วันตรุษอีดิลอัฎฮาปีนี้น่าจะนำเนื้อกุรบ่านส่วนหนึ่งบริจาค  หรือบริจาคเงินทำกุรบ่าน  ผ่านคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด  หรือจังหวัดที่ประสบภัยให้เป็นสื่อกลางมอบแด่ผู้ประสบภัย  “น้ำท่วม”  และขอพรให้โชคดีและเป็นคนดีทุกคน
   นี่คือภาพรวมของภารกิจหรือวิถีมุสลิมภาคใต้กับเดือนซุลหิญญะฮฺ(เดือนแห่งการทำฮัจ
[/color]ญ์)







       เป็นวันเฉลิมฉลองในศาสนาอิสลาม โดยในวันนี้จะมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น แต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย ร่วมกันทำพิธีละหมาดวันอีดที่สนามหรือในมัสยิด เยี่ยมเยืยนญาติพี่น้อง รับประทานอาหารร่วมกัน เป็นต้น
มุสลิมที่พูดภาษามลายูจะเรียกวันนี้ว่า ฮารีรายอ (ภาษามลายูปัตตานี ) หรือ Hari Raya ในภาษามลายูกลาง แปลว่า วันใหญ่ หรือ วันอีด (ทับศัพท์จากภาษาอาหรับ) ศาสนพิธีตรุษอิดิลฟิตรี ปฏิบัติกันตามหัวเมืองทั่ว ๆ ไป
วันอีดมี 2 วันในแต่ละปีคือ

   1. อีดุลฟิฏริ (สะกดไม่มาตรฐาน อีดิลฟิตรี) ในวันที่ 1 เชาวาล ภายหลังการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน จะมีเลี้ยงอาหารให้แก่ญาติมิตร หลังจากนมาซอีด
   2. อีดุลอัฎฮา ในวันที่ 10 ซุลฮิจญะหฺ จะมีการเชือดสัตว์พลี (กุรบาน)และเลี้ยงอาหารให้แก่ญาติมิตร หลังจากนมาซอีด


สิ่งที่ควรปฏิบัติในวันอีดิ้ลฟิฏรี

1.เตรียมตัวเพื่อไปละหมาดอีดิลฟิฏรี ด้วยการทำความสะอาดร่างกายและส่วมใส่เสื้อผ้าที่สวยงาม
รายงานจากนาเฟียะ เราะฎิยัลลอฮุอันฮู ว่า  แท้จริงอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮู อาบน้ำในวันอิดิ้ลฟิฎรี ก่อนที่จะไปยังสถานที่ละหมาด(มุศอ็ลลา)แต่เช้าตรู่ – รายงานโดยอิหม่ามมาลิก ในอัลมุวัฏฏออฺ ด้วยสายรายงานที่เศาะเฮียะ ท่านหาฟิซอิบนุหะญัร(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
อิบนุอบีดุนยาและอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานด้วยสายรายงานที่เศาะเฮียะ สืบไปถึง อิบนุอุมัร ว่า เขาสวมใส่เสื้อผ้าที่สวยที่สุด ในวันอีดทั้งสอง” – ดู ฟัตหุ้ลบารีย์ เล่ม 2 หน้า 51


2. ก่อนออกไปละหมาดอีดิ้ลฟิฏรี ชอบ(มีสุนนะฮ)ให้รับประท่านอินทผลัมก่อน หนึ่งเม็ด,สามเม็ด หรือมากกว่านั้น โดยให้เป็นจำนวนคี่ รายงานจากอะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮูว่า
ปรากฏว่าท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะไม่ออกไปในวันอีดแต่เช้าตรู่ จนกว่าท่านจะรับประทานอินทผลัมหลายเม็ด และท่านกินมันเป็นจำนวนคี่”- บันทึกโดย อัลบุคอรี


3. มีสุนนะฮให้กล่าวตักบีรด้วยเสียงดังสำหรับผู้ชายและด้วยเสียงค่อยสำหรับผู้หญิง ดังหะดิษอับดุลลอฮ บิน อุมัร ระบุว่า
แท้จริง ปรากฏว่า รซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ออกไปละหมาดอีดทั้งสอง โดยกล่าวตะฮลีลและกล่าวตักบีร ด้วยเสียงดัง – เป็นหะดิษเศาะเฮียะ ดู อัลอิรวาอฺ เล่ม 3 หน้า 123รายงานจากนาเฟียะว่า “แท้จริงอิบนุอุมัร เมื่อออกไปในวันอีดิลฟิฎรีและอีดิลอัฎหา แต่เช้าตรู่ เขาได้ตักบีร ด้วยเสียงดัง จนกระทั้งถึงสถานที่ละหมาด(มุศอ็ลลา) หลังจากนั้นก็ได้ตักบีร จนกระทั้งอิหม่ามมาถึง แล้วจึงกล่าวตักบีร ด้วยการตักบีรของอิหม่าม” – บันทึกโดย อัดดารุ้ลกุฏนีย์ ด้วยสายรายงานที่เศาะเฮียะ สำหรับถ้อยคำที่ใช้กล่าวตักบีรนั้น มีรายงานว่า
จากอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮู ว่า เขาได้กล่าวตักบีร ในบรรดาวันตัชรีกว่า “ อัลลอฮุอักบัร,อัลลอฮุอักบัร,ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮุ วัลลอฮุอักบัร,อัลลอฮุอักบัร วะลิ้ลลาฮิลหัมดุ” – บันทึกโดย อิบนุอบีชัยบะฮ ด้วยสายรายงานที่เศาะเฮียะ

4. มีสุนนะฮให้เดินทางไปละหมาดอีดิ้ลฟิตรี โดยการเดินเท้า ดังหะดิษท่านอาลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮู กล่าวว่า   ส่วนหนึ่งจากสุนนะฮ คือ การออกไปละหมาดอีด โดยการเดินเท้า”
 – บันทึกโดย อัตติรมิซีย์

5. มีสุนนะฮให้ไปละหมาดอีดทางหนึ่งแล้วกลับอีกทางหนึ่ง ดังหะดิษญาบีร เราะฎิยัลลอฮุอันฮู กล่าวว่า  ปรากฏว่ารซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อถึงวันอีด ท่านจะสลับทางเดิน – บันทึกโดย อัลบุคอรี6. การละหมาดอีด ไม่มีสุนนะฮให้อาซานและอิกอมะฮ จากอิบนุอับบาส เราะฏิยัลลอฮุอันฮู ว่า “แท้จริงรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ละหมาดอีด โดยไม่มีการอาซานและอิกอมะฮ”
 – เศาะเฮียะสุนนันอบีดาวูด
7. เมื่อต้องการจะกล่าวอวยพร ก็ให้กล่าวคำว่า “ตะก็อบบะลัลลอฮุมินนา วะมิงกุม” อิบนุตัรกะมูนีย์ กล่าวว่า ในเรื่องนี้ มีหะดิษ อยู่ในระดับที่ดี คือ หะดิษมุหัมหมัด บินซิยาด กล่าวว่า “ข้าพเจ้าพร้อมกับ อบีอะมามะฮ อัลบาฮิลีย์ และคนอื่นจากเขา จากบรรดเหล่าสาวกของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ปรากฏว่าเมื่อพวกเขากลับ บางส่วนของของพวกเขาจะกล่าวกับอีกบางส่วนว่า “ขออัลลอฮได้โปรดรับจากเราและจากท่านด้วย” อิหม่ามอะหมัด บิน หัมบัล กล่าวว่า “สายรายงานของหะดิษนี้อยู่ในระดับดี – ดู อัลเญาฮะรุนนะกีย์ เล่ม 3 หน้า 320

 การจ่าย ซะกาตฟิตเราะฮฺ (ทานบังคับ)
คือ ซะกาตที่จำเป็นจะต้องจ่ายอันเนื่องจากหมดภาระถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งจำเป็นแก่มุสลิมทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ชายหรือหญิง เพียงแต่ผู้ที่จะเป็นผู้จ่ายนั้นจะต้องเป็นหัวหน้าครอบครัว และผู้อุปการะผู้อื่นโดยจ่ายเพื่อตัวเขา และเพื่อคนที่อยู่ในครอบครัวทุกคน และคนที่ต้องรับผิดชอบด้วย
        สำหรับปริมาณที่ต้องจ่าย คนละ 1 ศออฺ (ในภาษาอาหรับ) หรือประมาณเกือบ 4 ลิตร ของอาหารหลักในท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ในประเทศไทยคือ ข้าวสาร เป็นต้นโดยจะจ่ายให้คนยากจน หรือให้เจ้าหน้าที่เก็บซะกาตของมัสญิดก็ได้ เพื่อจะได้แจกจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ์รับซะกาตต่อไป
      เพราะฉะนั้นจะเห็นชาวบ้านจำนวนมากจะออกจากบ้านในคืนสุดท้ายหรือช่วงเช้าของวันอีด(ฮารีรายอ)ไปหาคนยากจนหรือ
เจ้าหน้าที่มัสยิด
ภารกิจมุสลิมวันอีด (ฮารีรายอ)

เมื่อสำนักจุฬาราชมนตรีประกาศกำหนดวันอีดชัดเจนแล้ว มุสลิมจะมีหลักปฏิบัติ ดังนี้
           - กล่าว ตักบีร (สรรเสริญความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า) เมื่อมีการประกาศกำหนดวันอีดแล้ว มุสลิมทั้งชายและหญิงควรกล่าวตักบีรไปเวลาละหมาดอีด ในชุมชนมุสลิมจะเปิดเครื่องขยายเสียงดังที่มัสยิด
             - อาบ น้ำและทำความสะอาดร่างกาย ควรมีการอาบน้ำชำระล้างและทำความสะอาดร่างกายก่อนสวมใส่เสื้อผ้าไปยังที่ ละหมาด พร้อมทั้งขจัดขนอวัยวะเพศ ขนรักแร้ ตัดเล็บ กลิ่นกายที่น่ารังเกียจ และรบกวนผู้อื่น
              - แต่งกายด้วยอาภรณ์ที่ดี ที่สามารถหามาได้ พร้อมกับใช้น้ำหอม ยกเว้นบรรดาสตรี ซึ่งไม่อนุญาตให้พวกนางใช้น้ำหอมในการไปละหมาด
             -ไปยังที่ละหมาดตั้งแต่เช้า สำหรับผู้เป็นมะมูม (ประชาชน ทั่วไป) ควรรีบออกไปยังที่ละหมาดตั้งแต่เช้า เพื่อจองที่และรอละหมาด ยกเว้นผู้เป็นอิหม่าม (ผู้นำละหมาด)ให้ออกไปเมื่อใกล้เวลาละหมาด โดยการออกไปยังที่ละหมาดควรปฏิบัติดังนี้
                       ก.ควรออกไปและกลับด้วยการเดินเท้า นอกจากมีเหตุจำเป็น เช่น ไม่สบาย เป็นไข้ อยู่ไกล เช่นนี้อนุญาตให้ใช้พาหนะได้
                        ข.กล่าวตักบีรตลอดทางไปสู่ที่ละหมาด
                        ค.เดินเท้าไปและกลับควรใช้เส้นทางต่างกัน
                        ง.พาครอบครัวไปด้วยกัน
                       จ. ควรพาครอบครัว บุตร ภรรยา ไปที่ละหมาด เพื่อร่วมละหมาดหรือฟังคุฏบะฮฺ (ธรรมเทศนา) ร่วมกัน เช่นปีที่ผ่านมา ที่ปัตตานีจัดละหมาดอีดที่สนามโรงเรียนเบญจมราชูทิศมีผู้เข้าร่วมเกือบหมื่น คน
 
ภารกิจหลังละหมาดอีด[/size]          หลังละหมาดให้ต่างคนต่างแสดงความดีใจและยินดีซึ่งกันและกัน โดยให้กล่าว “ตะก๊อบ บะลัลลอฮู มินนา วะมินกุม” ซึ่งแปลว่า “ขอให้อัลลอฮฺเจ้าจงตอบแทนความดีของเรา” และขออภัยซึ่งกันและกัน หลังจากนั้นให้มีการบริจาคทานโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาสตรี สุดท้ายไปเยี่ยมญาติและเพื่อนๆ
ถือศีลอดอีก 6 วัน

หลังจากวัน อีดิ้ลฟิตรี  ซึ่ง เป็นการถือศีลอดซุนนะฮฺ(ตามความสมัครใจและตามแบบฉบับศาสดา) ตามรายงานของอะบีอัยยู๊บ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮฺ (อัครสาวกศาสดาท่านหนึ่ง) แจ้งว่า ท่าน     ร่อซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า  "ผู้ใดถือศีลอดเดือนรอมฎอนแล้วติดตามหลังจากรอมฎอนอีก 6 วันจากเดือนเซาวัล เสมือนกับว่าเขาถือศีลอดทั้งปี"
 
         นี่ คือหลักปฏิบัติของอิสลามพอสังเขปซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชุมชนมุสลิมภาคใต้ซึ่ง อยากจะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับความมั่นคงเข้าใจ และนำเป็นกรอบในการกำหนดนโยบายและปฏิบัติ
ในพื้นที่ เพราะหลายๆกิจกรรมเป็นช่วงกลางคืนและดึกดื่น
        ใน ขณะเดียวกันการเรียกร้องให้องค์กรของรัฐและสังคมอื่นเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ได้อย่างสมบูรณ์นั้น มุสลิมเองต้องมีคุณลักษณะ และแสดงความเป็นมุสลิมที่ดีตามแนวทางศาสดาทุกอริยะบทของการดำเนินชีวิต รวมทั้งเข้าใจ เข้าถึงและร่วมมือกับสังคมอื่นตามกรอบที่ศาสนาได้กำหนดไว้เช่นกัน
           หากทุกฝ่ายยึดตามแนวทางที่ถูกต้องและเข้าใจซึ่งกันสังคมไทยจะอยู่ร่วมอย่าง สมานฉันท์และหวังว่า “เหตุการณ์ตากใบ 2 ” คงไม่เกิดในช่วงท้ายรอมฎอนอีกครั้งในปีนี้






 
www.pr.pn.psu.ac.th
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 16, 2010, 02:05:13 pm โดย danai8029 »



ออฟไลน์ ฮัลโหล โมบาย Addy

  • Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 752
  • คะแนนน้ำใจ: 11
  • การเรียนรู้ไม่มีคำว่า"จบ
    • อีเมล์

 


Facebook Comments