ผู้เขียน หัวข้อ: พระจันทร์สีน้ำเงิน ธันวานี้รีบดูกัน  (อ่าน 1196 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

tonmobile

  • บุคคลทั่วไป

"บูลมูน" หรือ "พระจันทร์สีน้ำเงิน" คือ พระจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ในรอบเดือนปฏิทิน หรือเรียกง่ายๆ ว่าถ้าเดือนไหนมีพระจันทร์เต็มดวง 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 นี่ล่ะ จะเรียกว่า "บูลมูน" เพราะปกติใน 1 เดือนจะเกิดปรากฏการณ์พระจันทร์เต็มดวงได้เพียงแค่ 1 ครั้ง และมีบางคราวที่พระจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือนจะแอบแทรกตัวขอเกิดขึ้น อีกหน ซึ่งพระจันทร์เต็มดวงหรือฟูลมูน (Full Moon) จะเกิดขึ้นประจำทุกเดือน

แม้ว่าใน 1 ปีมี 12 เดือน และ 1 เดือนมี 30 และ 31 วันแต่รอบของดวงจันทร์ก็มีแค่เพียง 29.53059 วันต่อเดือน และใน 1 ศตวรรษจะมีเดือนทั้งหมด 1200 เดือน ทั้งนี้ ในศตวรรษเดียวกันจะเกิดพระจันทร์เต็มดวงได้ถึง 1236.83 ครั้ง แต่จะเป็นเพียงพระจันทร์สีน้ำเงินแค่ 36.83 ครั้งหรือ 2.72 ปีต่อครั้ง แต่มีที่พิเศษกว่านั้นเข้าไปอีกคือจะมีการเกิดบูลมูนปีละ 2 ครั้งในทุกๆ 19 ปี ซึ่งปีล่าสุดที่เกิดบูลมูน 2 ครั้งซ้อนก็คือปี 1999 และถัดไปคือปี 2018 หรือสรุปง่ายๆ ว่า 3% ของฟูลมูน จะเป็นบูลมูน


การเกิด "พระจันทร์สีน้ำเงิน" ในช่วงศตวรรษที่ 20

วันที่ เดือน ปี (พ.ศ.) เวลาสากล(UT) เวลาประเทศไทย
30 มิถุนายน 1996 (2539) 10:35 17:35
31 มกราคม 1999 (2542) 16:06 23:06
31 มีนาคม 1999 (2542) 22:49 05:49 (1 เม.ย.)
30 ธันวาคม 2001 (2544) 20:51 03:51 (31 ธ.ค.) (หมายเหตุ : ตั้งแต่ปี 2001 ถึง ปี 2100 น่าจะเรียกว่าศตวรรษที่ 21 ตาม http://th.wikipedia.org/wiki/ศตวรรษที่_21)
31 กรกฎาคม 2004(2547) 18:06 01:06 (1 ส.ค.)
30 มิถุนายน 2007 (2550) 13:50 20:50
31 ธันวาคม 2009 (2552) 19:14 02:14 (1 ม.ค.)
31 สิงหาคม 2012 (2557) 13:58 20:58  (หมายเหตุ : อันนี้ผมยังสงสัยเลขปีอยู่ ตามหัวข้อบอกว่าอีก 5 ปี ปี คศ น่าจะเป็น 2014 ยังหาข้อมูลที่ถูกต้องไม่ได้ครับ)

ข้อ สังเกตง่ายๆ ถ้าเห็นพระจันทร์เต็มดวงก่อนวันที่ 11 มกราคม แสดงว่าปีนั้นจะมีพระจันทร์เต็มดวงมากถึง 13 ครั้ง และจะต้องมีเดือนใดเดือนหนึ่งที่มีพระจันทร์เต็มดวงซ้อนกันถึง 2 ครั้ง (อย่างเช่นในปี 2547 นี้ที่คืนวันขึ้น 15 ค่ำแรกของปี ตกวันที่ 6 มกราคม และในปีนี้ก็เลยมีเดือนกรกฎาคมเป็นผู้โชคดีมีพระจันทร์เต็มดวงถึง 2 ครั้ง) หรือถ้าในบางปีที่พระจันทร์เต็มดวงมีก่อน 11 มกราคมแต่ไม่ปรากฏในเดือนกุมภาพันธ์ ก็เป็นไปได้ว่าเราจะได้เห็นบูลมูนถึง 2 ครั้งแบบเดือนเว้นเดือน

ว่ากันว่าในปี 1883 เป็นปีที่ภูเขาไฟ "กรากาตัว" (Krakatoa) ที่อินโดนีเซียระเบิดขึ้นตูมใหญ่ราวกับทิ้งนิวเคลียร์ขนาด 100 เมกาตัน ส่งผลให้ลาวาและฝุ่นควันพุ่งกระจายออกไปไกลถึง 600 กิโลเมตร เถ้าของภูเขาไฟพวยพุ่งขึ้นสูงไปถึงชั้นบรรยากาศ นั่นจึงทำให้พระจันทร์เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ใน ขี้เถ้าของภูเขาไฟกรากาเตา คลุ้งจนกลายเมฆฝุ่นซึ่งผสมด้วยอนุภาคเล็กๆ ขนาด 1 ไมครอน (1 ส่วน 1 ล้านเมตร) ซึ่งอนุภาคเหล่านี้มีความกว้างมากกว่าความยาวคลื่นของแสงสีแดงกระจัดกระจาย อยู่ทั่วไปในอากาศ (ความยาวคลื่นของแสงแดงคือ 0.7 ไมครอน) ดังนั้นเมื่อแสงสีขาวที่เคยตกกระทบดวงจันทร์ก่อนส่งมาที่ดวงตาของเราต้อง ผ่านอนุภาคเหล่านี้ก่อน แสงสีแดงก็จะกระเจิงหายไป เหลือแต่เพียงแค่ 2 แสงคือ แสงสีน้ำเงินและแสงสีเขียว

ในปี 1983 หลังจากภูเขาไฟเอล ชิชอน (El Chichon) ในเม็กซิโกระเบิดขึ้น และก็มีรายงานว่าพบพระจันทร์สีน้ำเงินหลังจากภูเขาไฟเซ็นต์เฮเลน (St. Helens) ระเบิดในปี 1980 และภูเขาไฟพินาตูโบ (Pinatubo) ระเบิดในปี 1991 นอกจากฝุ่นควันจากปล่องภูเขาไฟแล้ว ไฟป่าก็มีส่วนพ่นควันที่มีอนุภาคเหล่านี้ออกมา ทำให้เห็นดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงินได้เช่นกัน

ที่มา : http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20081026235716AA3ogxZ




 


Facebook Comments