ผู้เขียน หัวข้อ: นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติกรณีศึกษา นโยบายบรอดแบนด์ของสหรัฐอเมริกา  (อ่าน 1517 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ danai8029

  • Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 782
  • คะแนนน้ำใจ: 4
    • อีเมล์
นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติกรณีศึกษา นโยบายบรอดแบนด์ของสหรัฐอเมริกา


“บรอดแบนด์” หมายถึง ระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีความล้ำหน้าที่สามารถให้บริการรับ-ส่ง ข้อมูล เสียง และภาพเคลื่อนไหวผ่านอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมอื่นๆ โดยการรับ-ส่งดังกล่าวสามารถใช้สื่อได้หลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นสายทองแดง สายใยแก้วนำแสง สายโคแอคเชียล เทคโนโลยีไร้สาย และดาวเทียม เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีสื่อสารบรอดแบนด์ทำให้เกิดการหลอมรวมการให้บริการข้อมูล เสียง และภาพเคลื่อนไหวบนเครือข่ายเดียวกัน



รูปจาก  www.progressivestates.org


          ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันในระดับสากลแล้วว่าเทคโนโลยีบรอดแบนด์เป็นเครื่องมือ ยุทธศาสตร์ชาติที่ทำการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สนับสนุนกิจการด้านความปลอดภัยสาธารณะและความมั่นคงของรัฐ ซึ่งสามารถเห็นได้จากแผนบรอดแบนด์แห่งชาติ (National Broadband Plan) ของประเทศสหรัฐอเมริกา จัดทำโดย FCC (สามารถ Download ได้จาก www.fcc.gov) ซึ่งสหรัฐฯ ได้ให้ความสำคัญต่อแผนบรอดแบนด์แห่งชาติเป็นอย่างยิ่ง โดยเนื้อหาในแผนฯดังกล่าวได้แสดงให้เห็นประเด็นสำคัญในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวถึงประเด็นเหตุการณ์การก่อการร้าย 911 (ปรากฎอยู่ในส่วนของ Executive Summary ของแผนฯ) ที่ประชาชนและภาครัฐไม่สามารถใช้ระบบสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในการ แก้ไขสถานการณ์เพราะประเทศขาดระบบเครือข่ายบรอดแบนด์เพื่อสนับสนุนกิจการ ด้านความปลอดภัยสาธารณะและความมั่นคงของรัฐ จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากการที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดต่อ และรู้ถึงตำแหน่งของผู้ประสบเหตุและเจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกัน เองได้ จึงเป็นผลให้ในปี 2009 สภา Congress ของสหรัฐฯ เสนอให้ FCC ทำการพัฒนาแผนบรอดแบนด์แห่งชาติดังกล่าว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศมีขีดความสามารถในการเข้าถึงและใช้เทคโนโลยี บรอดแบนด์ สาระสำคัญในแผนประกอบด้วยกลยุทธ์ที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการบ รอดแบนด์ได้ด้วยราคาถูกและให้ผลักดันให้การบริการบรอดแบนด์เป็นสาธารณูประ โภคพื้นฐานของประชาชน ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดการเชื่อมโยงความร่วมมือของประชาคมต่างๆ การพัฒนาชุมชน การบริการสาธารณสุข การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษา การฝึกอบรม การลงทุนภาคเอกชน กิจการผู้ประกอบการ SME กิจการด้านความปลอดภัยสาธารณะและความมั่นคงของรัฐ


รูปจาก www.fcc.gov

          ในยุค เศรษฐกิจฐานความรู้นโยบายคลื่นความถี่ (Spectrum policy) ถือว่าเป็นเสาหลักสำคัญของนโยบายเศรษฐกิจ (Economic policy) เพราะการให้บริการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายมีผลกระทบต่อตัวเลข GDP ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศยอมรับแล้วว่าเทคโนโลยีบรอดแบนด์เคลื่อน ที่เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งมีนักวิจัยหลายท่านได้พยากรณ์ว่าในอนาคตจำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต จะเชื่อมต่อโดยใช้ออุปกรณ์เคลื่อนที่มากกว่าการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้ง โต๊ะหลายเท่าตัว

             เทคโนโลยีบรอดแบนด์เคลื่อนที่แป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการหลอมรวมเทคโนโลยีอิน เทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่ จนทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ธุรกิจที่ไม่เคยเกี่ยวพันธ์กันและไม่เคยร่วมมือกันมาก่อนก็จะเข้ามาร่วมมือ กันหลอมรวมกัน เช่น บริษัท Amazon, Apple, Intel, Google, Qualcomm และบริษัทในอุตสากรรมอื่นๆอีกมากมาย จนส่งผลให้เกิดการสร้างงานเป็นจำนวนมหาศาล

สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้ม
             การใช้งานบริการบรอดแบนด์ไร้สายมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริการบรอดแบนด์เคลื่อนที่ ซึ่งอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วดังกล่าวเกิดขึ้นจากการเติบโตอย่างรวด เร็วของการให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G และการพัฒนาในด้านประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วของ Smartphone และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่อื่นๆ รวมทั้งการพัฒนามาตรฐานใหม่ๆ เช่น LTE, 4G และ WiMAX  ข้อมูลดังกล่าวมีหลักฐานชัดเจนจากประเทศที่มีระบบ 3G ที่สมบูรณ์แล้วคือ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่ง Data traffic ของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อน AT&T ที่เพิ่มขึ้นถึง 5,000% เนื่องจากเกิดการใช้งานอย่างมากจากผู้ใช้ iPhone ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ส่วนเครือข่ายของ Verizon Wireless ก็มีข้อมูลเป็นไปในทางเดียวกัน และจากข้อมูลของ Cisco รายงานว่า ข้อมูลที่วิ่งอยู่บนเครือข่ายสื่อสารไร้สายในประเทศอเมริการเหนือมีสูงถึง 17 Petabytes ต่อเดือน ในปี 2009 ซึ่งมีปริมาณข้อมูลเทียบเท่ากับ 1,700 เท่าของข้อมูลใน Library of Congress

             การใช้งานบริการบรอดแบนด์ไร้สายที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะเป็น ปัญหาที่ท้าทายขององค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ในการเตรียมคลื่นความถี่ให้เพียง พอต่อความต้องการ เพื่อสนับสนุนการขยายเครือข่ายและการ Upgrade เทคโนโลยีเครือข่าย แต่หากไม่มีคลื่นความถี่ที่เพียงพอก็จะเป็นผลให้ผู้ให้บริการเครือข่ายต้อง ลงทุนสูงขึ้น เนื่องจากต้องใช้งบประมาณในการปรับปรุงโครงข่ายด้วยการทำ Cell splitting และหากการขาดแคลนคลื่นความถี่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้รวดเร็วทันเวลา ก็จะทำให้ต้นทุนของผู้ให้บริการโครงข่ายสูงขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับคุณภาพการให้บริการที่แย่ลงในที่สุดก็จะมีผลต่อการเติบโตของ เศรษฐกิจ

             จากความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G อย่างรวดเร็วในขณะนี้ ทำให้ต้องมีการเตรียมการแถบความถี่ที่เหมาะสม ซึ่งอาจมีความจำเป็นต้องมีการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ (Spectrum refarming) บนคลื่นความถี่ของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันที่กำลังใช้งานอยู่



รูปจินตนาการ iPhone 4G ที่มุ่งเน้นการใช้งานบรอดแบนด์
(รูปจาก www.iphonedownloadblog.com)


           เทคโนโลยีบรอดแบนด์สามารถช่วยสนับสนุนกิจการด้านความปลอดภัยสาธารณะและความ มั่นคงของรัฐให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์วิกฤตได้อย่างทันท่วงที ซึ่งเห็นได้จากแผนบรอดแบนด์แห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาได้เสนอการใช้ เทคโนโลยีบรอดแบนด์ที่ทำให้เกิดการปฏิวัติรูปแบบของการสื่อสารในระบบความ ปลอดภัยด้านสาธารณะและความมั่นคงของรัฐคือ

             ทำให้ผู้ประสบกับสถานการณ์ไม่ว่า ณ สถานที่ใดในประเทศสามารถรับ-ส่งข่าวสารในรูปแบบเสียง วีดิโอและข้อมูล เพื่อรักษาชีวิต ลดจำนวนผู้บาดเจ็บ และป้องกันการก่ออาชญากรรมและการก่อการร้าย
             เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าประชาชนสามารถเข้าถึงระบบสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency system) ได้อย่างรวดเร็วและสามารถรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารในรูปแบบเสียง วีดิโอและข้อมูลโดยไม่จำกัดเครื่องมือและวิธีการสื่อสาร
            เพื่อลดภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และการใช้ โปรแกรมประยุกต์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยให้มั่นใจว่าประเทศมีระบบความ มั่นคงเครือข่ายบรอดแบนด์

             อย่างไรก็ตามในปัจจุบันระบบสื่อสารความปลอดภัยด้านสาธารณะและความมั่นคงของ รัฐในหลายประเทศทั่วโลกยังคงเป็นเทคโนโลยีเครือข่าย Circuit-switched รวมทั้งระบบฉุกเฉิน 911 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถสื่อสารด้วยเสียงเท่านั้น ทั้งๆที่เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมในปัจจุบันกำลังวิ่งเข้าสู่เทคโนโลยี เครือข่าย Packet-switched ที่สามารถส่งและรับข่าวสารในรูปแบบ เสียง วีดิโอและข้อมูล ดังนั้นภาครัฐในหลายประเทศจึงเริ่มวางระบบสื่อสารความปลอดภัยด้านสาธารณะและ ความมั่นคงของรัฐโดยใช้เทคโนโลยีเครือข่าย Packet-switched กันแล้ว 


รูปแสดงศูนย์ควบคุมระบบสื่อสารความปลอดภัยด้านสาธารณะและความมั่นคงของรัฐ
(รูปจาก  http://www.armybase.us)


แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์
            แผนบรอดแบนด์แห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกายังให้ข้อเสนอแนะปัจจัยแห่งความ สำเร็จในระดับยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ต่อรัฐบาลเพื่อการขับเคลื่อนโครงการระบบ สื่อสารความปลอดภัยด้านสาธารณะและความมั่นคงของรัฐไว้ดังนี้

             ระดับรัฐบาลออกแบบนโยบายเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะเกิดการแข่งขันในการสร้างโค รงข่ายบรอดแบนด์ เพื่อมุ่งสู่ผลสูงสุดในด้านสาธารณูประโภคของประชาชน ด้านการสร้างนวัตกรรม และด้านการลงทุน
             นโยบายระดับรัฐบาลต้องทำให้การจัดสรรทรัพยากรและการบริหารควบคุมทรัพยากรภาค รัฐมีประสิทธิภาพ เช่น การบริหารทรัพยากรคลื่นความถี่ การบริหารทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐาน (Rights-of-way) เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพโครงข่าย ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยไม่ทำให้เกิดการสร้างโครงสร้างที่ซ้ำ ซ้อน และส่งเสริมให้เกิดผู้บริการรายใหม่ให้สามารถเข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น
             รัฐบาลควรปฏิรูปกลไกการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อความปลอดภัยด้าน สาธารณะและความมั่นคงของรัฐ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการสร้างและใช้งานบริการบรอดแบนด์และบริการ สื่อสารทางเสียงในพื้นที่ที่ยังมีค่าบริการที่สูง และต้องให้มั่นใจได้ว่าประชาชนที่มีรายได้ต่ำสามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ ที่มีราคาถูกได้ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการตอบรับการใช้งานบริการบรอดแบนด์อย่างแพร่ หลาย
             รัฐบาลควรปฏิรูปกฎหมาย นโยบาย มาตรฐาน และระบบผลตอบแทน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากบริการบรอดแบนด์ในภาครัฐทุกด้าน เช่น การศึกษา การสาธารณสุข และการปฏิบัติงานในภาครัฐ
             ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อความปลอดภัยด้าน สาธารณะและความมั่นคงของรัฐเป็นเครือข่ายสื่อสารเคลื่อนที่ที่ครอบคลุมทั่ว ประเทศ สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมอื่นๆได้ โดยมีการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอทั้งงบประมาณที่ใช้ในการสร้างโครงข่ายพื้น ฐานและการดูแลรักษา
             ส่งเสริมสนับสนุนในการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและการใช้งานระบบฉุกเฉิน และแจ้งเตือนภัย
             ส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาระบบความมั่นคงเครือข่าย (Cybersecurity) และพัฒนาให้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อความปลอดภัยด้านสาธารณะและความมั่นคง ของรัฐมีความเสถียรและสามารถดำรงการติดต่อสื่อสารได้ในทุกสภาพ เพื่อให้เจ้าหน้าที่และประชาชนผู้ใช้บริการมีความมั่นใจ เชื่อถือ และตอบรับการใช้งานอย่างกว้างขวาง

สรุป
             ปัจจุบันประเทศไทยยังมีเยาวชน นักเรียน นักศึกษาในต่างจังหวัดที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงหนังสือดีๆ อาจารย์ที่มีความสามารถมีชื่อเสียง และยังมีประชาชนเป็นจำนวนวมากยังไม่มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อแจ้ง เตือนและขอความช่วยเหลือเมื่อประสบกับเหตุฉุกเฉิน อีกทั้งเมื่อเกิดการก่อการร้าย หน่วยงานความมั่นคงไม่สามารถเชื่อมโยงระบบสื่อสารของภาครัฐเข้ากับระบบสื่อ สารสาธารณะได้

             โชคดีเหลือเกินที่เทคโนโลยีบรอดแบนด์สามารถเป็นสะพานเชื่อม (Bridge the gaps) ช่องว่างความเหลื่อมล้ำของประชาชนในชาติ และสามารถช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลและคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้ร่วมกันดำเนิน การทำแผนบรอดแบนด์แห่งชาติของประเทศไทย เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆให้แก่ประชาชน ลดช่องว่างทางการศึกษา เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยการสร้างโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่มีคุณภาพไม่ว่าจะอยู่ในเมือง หรือในชนบท และเสริมสร้างสนับสนุนให้เกิดระบบการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อความ ปลอดภัยด้านสาธารณะและความมั่นคงของรัฐให้แก่ประชาชน

            ดังนั้นหากแผนบรอดแบนด์แห่งชาติของประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็น รูปธรรม เราก็จะได้เห็นประชาชนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และเศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศของเราพัฒนาได้อย่างยั่งยืนต่อไป


ที่มา : http://www.vcharkarn.com/varticle/41611

พ.อ.รศ. ดร.เศรษฐพงค์  มะลิสุวรรณ
settapong_m@hotmail.com
ประจำกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
กรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่
ภายใต้คณะกรรมการกิ
จการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)



ออฟไลน์ ฤทธิ์

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • ******
  • กระทู้: 622
  • คะแนนน้ำใจ: 2
  • อ.ภูเขียว
    • อีเมล์
ขอบคุณมากครับผม
รีแพร์บู๊ท รีแพร์imei ปลดล็อค อัพไทย แฟลชโปรแกรม
ฤทธิ์เทเลโฟน ต.ผักปัง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ

 


Facebook Comments