ผู้เขียน หัวข้อ: แย้ สัตว์ที่หลายคนไม่รู้จัก  (อ่าน 1139 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ SE

  • Administrator
  • Hero Member
  • *********
  • กระทู้: 4 271
  • คะแนนน้ำใจ: 100
แย้ สัตว์ที่หลายคนไม่รู้จัก
« เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2010, 10:10:19 am »
  • Publish
  • Publish
  • แย้



    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    แย้


    Leiolepis belliana belliana

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
    อาณาจักร    Animalia
    ไฟลัม    Chordata
    ชั้น    Reptilia
    อันดับ    Squamata
    วงศ์    Agamidae
    วงศ์ย่อย    Leiolepidinae
    สกุล    Leiolepis
    สปีชีส์    มีทั้งหมด 8 ชนิด ดูในรายละเอียด


    ข้อมูลทั่วไป[ซ่อน]

    แย้ เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า Butterfly Lizard หรือ Small-scaled Lizard หรือ Ground Lizard แย้จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล Leiolepis ในวงศ์ Agamidae พบทั่วทั้งโลกทั้งหมด 8 ชนิด พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม
    เนื้อหา
    [ซ่อน]

        * 1 ลักษณะ
        * 2 พฤติกรรม
        * 3 สายพันธุ์
        * 4 ความสัมพันธ์กับมนุษย์
        * 5 อ้างอิง

    [แก้] ลักษณะ

    ขนาดลำตัววัดจากปลายปากโดยตลอดยาวประมาณ 11.5 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 23.8 เซนติเมตร ตัวแบนหางราบ โคนหางแบนและแผ่บานออก สีข้างแผ่ขยาย ไม่มีแผงหนามที่สันหลัง ช่องหูใหญ่ เยื่อหูจมใต้ผิวหนัง หนังข้างคอมีรอยพับตามขวาง รอบลำตัวมีเกล็ดประมาณ 40 แถว หัวและหลังสีเขียวมะกอก โดยมีจุดสีเหลืองขอบดำเรียงเป็นแนวข้างตัว มีแถบดำสลับเหลืองคอมีลวดลายร่างแหดำ ประกอบสีครีม ท้องและอกสีส้มสด ตัวผู้จะมีพังผืดด้านข้าง และสวยกว่าตัวเมีย โดยที่แย้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ
    [แก้] พฤติกรรม

    แย้ทุกชนิดเป็นสัตว์ที่หากินและอาศัยอยู่ในพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้อย่างสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น โดยเฉพาะพื้นดินที่เป็นที่แห้งแล้งลักษณะดินปนทราย ที่อยู่ของแย้เป็นรู ลึกประมาณ 1 ฟุต เป็นโพรงข้างใน สามารถกลับตัวได้ ที่ปากรูจะมีรอยของหางแย้ เป็นรอยยาว ๆ และจะมีรูพิเศษอีกรูหนึ่ง ที่ใช้ป้องกันตัว เมื่อถูกศัตรูรุกรานเข้ารูด้านหนึ่ง แย้สามารถหลบรอดออกไปอีกรูหนึ่งได้อย่างแยบยล โดยรูนี้เรียกในภาษาไทยว่า "แปว"

    แย้สามารถสืบพันธุ์ได้ทุกฤดูกาล กินแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร แย้ไม่สามารถที่จะว่ายน้ำได้
    [แก้] สายพันธุ์

    มีทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก่

        * Leiolepis belliana หรือ Leiolepis belliana belliana แย้ธรรมดา หรือ แย้เส้น-พบได้ทั่วไปในประเทศไทยทุกภาค แม้กระทั่งตามเกาะแก่งต่าง ๆ กลางทะเล
        * Leiolepis belliana rubritaeniata แย้อีสาน-เป็นสายพันธุ์ย่อยของ L.belliana พบมากที่สุดในภาคอีสาน
        * Leiolepis boehmei แย้ใต้-พบเฉพาะภาคใต้ เช่น นครศรีธรรมราช, ตรัง และสงขลา และเป็นแย้ชนิดเดียวที่พบเฉพาะเพศเมีย
        * Leiolepis guentherpetersi
        * Leiolepis guttata แย้ยักษ์
        * Leiolepis peguensis
        * Leiolepis reevesii แย้จีน
        * Leiolepis triploida

    [แก้] ความสัมพันธ์กับมนุษย์

    แย้จัดเป็นอาหารดั้งเดิมของมนุษย์มาช้านานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในถิ่นอีสานของไทย ฃาวอีสานจะนิยมจับแย้กินเป็นอาหาร โดยมีรสชาติคล้ายเนื้อไก่ นิยมนำไปทำเป็นเมนูได้หลากหลาย เช่น ปิ้ง หรือ ลาบ

    ปัจจุบัน สถานะของแย้เมื่อเทียบกับสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ แล้ว นับว่าใกล้สูญพันธุ์จากถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ ในบางพื้นที่จึงมีการส่งเสริมการเลี้ยงแย้ให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจและอนุรักษ์ ไว้ด้วย เช่นที่ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็นต้น
    [แก้] อ้างอิง

        * อนุรักษ์แย้..สัตว์ที่น่ารัก เพาะเลี้ยงไว้ ณ เขาเขียว จากไทยรัฐ



     


    Facebook Comments