ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของวันครู  (อ่าน 1197 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ danai8029

  • Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 782
  • คะแนนน้ำใจ: 4
    • อีเมล์
ความเป็นมาของวันครู
« เมื่อ: มกราคม 12, 2011, 09:44:05 am »
  • Publish
  • Publish
  • ความเป็นมาของวันครู



               วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศ
    พระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ ปี               พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวง
    ศึกษาธิการเรียกว่า   คุรุสภา  เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภามีหน้าที่ในเรื่องของสถาบัน
    วิชาชีพครู




    หน้าที่ของ คุรุสภา

    1. ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา
    2. ควบคุมจรรยาและวินัยของครู
    3. รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร
    4. ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู


               ด้วยเหตุนี้ในทุกๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครู
    จากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ  เกี่ยวกับการดำเนินงานของ
    คุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบ ข้อสงสัย


    สถานที่ในการประชุมคุรุสภา

               สถานที่ในการประชุมสมัยก่อนใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภาปี พ.ศ. ๒๔๙๙


               ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี   และประธานกรรมการ
    อำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า


               “ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือ ว่า   เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย
    ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย    ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครู
    ผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิด
    เกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุม
    ไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”


             จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มี
    วันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู   ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ     ประกอบคุณงามความดีเพื่อ
    ประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมี
    มติเห็นควรให้มีวันครู เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึก
    ถึงคุณบูรพาจารย์   ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครู กับประชาชนในที่สุด    
    คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ  วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้ วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่
    ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจา นุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครู   และให้กระทรวง
    ศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดัง กล่าวได้




    การจัดงานวันครู

              การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของ
    กรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลัง
    ทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ



    กิจกรรมวันครู  
        
             การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ของสังคมตลอดเวลา
    ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้


    1. กิจกรรมทางศาสนา
    2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
    3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น


               ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ    สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุม
    คุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน  ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพ
    ร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับ
    ส่วนกลางจะจัดรวมกันที่ จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้




    รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา)

               รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
    ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์
    และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา
    นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการ
    จะเป็นผู้กล่าวนำพิธี สวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์




    มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

    1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

    2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น

    3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์
    จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้

    4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติ
    และชื่อเสียงของครู

    5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
    ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา

    6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตน
    ไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อ มนุษย์ชาติ

    7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบัง
    ใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน

    8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์
    สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ

    9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา

    10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน




    คำปฏิญาณตนของครู

    ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
    ข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
    ข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น



     
    Credit : http://www.zabzaa.com
    Edit     : P’ Click for trueclicklife.com



    ออฟไลน์ ฮัลโหล โมบาย Addy

    • Moderator
    • Hero Member
    • *****
    • กระทู้: 752
    • คะแนนน้ำใจ: 11
    • การเรียนรู้ไม่มีคำว่า"จบ
      • อีเมล์
    Re: ความเป็นมาของวันครู
    « ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 12, 2011, 10:23:16 am »
  • Publish
  • Publish
  • ขอบคุณครับ

     


    Facebook Comments