ผู้เขียน หัวข้อ: กฎหมาย ควรรู้ พ.ศ.2550 แบย่อ  (อ่าน 1680 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sukon1800

  • บุคคลทั่วไป
กฎหมาย ควรรู้ พ.ศ.2550 แบย่อ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2009, 08:09:47 pm »
  • Publish
  • Publish
  • อ่านดู และพิจรณา กันดูนะคับ จะได้ช่วยเหลือ ได้กันบ้าง อย่า เอาไปกระทำความผิดเพราะคิดว่าบางคดี โทษเล็กๆๆ นะคับ

     8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8)

                                                 
                                               รัฐธรรมนูญ  พ.ศ. 2550
       
         กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของปะเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือ
         แย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่
        ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญ เสมอกัน หรือเท่าเทียมกัน   
             
             กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ที่กะผมจะเขียนให้ท่านทราบเป็นกฎหมายที่ผมคัดเอามาเฉพาะบางส่วน
        เท่านั้นและมีผลบังคับใช้ใน กระบวนวิธีพิจาราณาความอาญาด้วย ซึ่งพอที่จะเขียนให้ท่านผู้อ่านพอเข้าใจได้ดังนี้

                                                  สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
                         
                    มาตรา ๑๓ มีหลักว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
                         การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการลงโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้ แต่
      การลงโทาตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้
      มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้
           
                   การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่
      กฎหมายบัญญัติ

                   การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้น
      แต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ
     
                   ในกรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผุ้เสียหาย พนักงานอัยการหรือ
     บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น รวมทั้งจะ
     กำหนดวิธีการตามความสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้

                  มาตรา ๓๓ มีหลักว่า  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคห สถาน
                           บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองในการที่จะอยู่อาศัยและ
     ครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข
                   
                 การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้นเตหถานหรือ
     ในที่รโหฐานต จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่ กฎหมายบัญญัติ

         มาตรา ๓๔ มีหลักว่า  สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นส่วนตัว ย่อม
    ได้รับความคุ้มครอง
           
               การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการ
    ละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลใครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณี
    ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ"
         
         มาตรา ๔๕ มีหลักว่า "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูดการเขียน การพิมพ์ การ
    โฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น"
       
     
       
           
       
    « แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 15, 2009, 01:15:24 pm โดย sukon1800 »



    sukon1800

    • บุคคลทั่วไป
    Re: กฎหมาย ควรรู้ พ.ศ.2550 แบย่อ
    « ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2009, 08:10:28 pm »
  • Publish
  • Publish
  •  

                          ( สิทธิในกระบวนการยุติธรรม  )

               มาตรา ๓๙ มีหลักว่า" บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำ
     นั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้ อยู่
     ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้

                             ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด
                             ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลไดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็น
    ผู้กระทำความผิดมิได้
                     
                       มาตรา ๔๐ มีหลักว่า "บุคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมดังต่อไปนี้
              (๑) สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
              (๒) สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับการ
    พิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริงข้อโต้แย้ง และ
    พยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่ง
    พิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำวินิจฉัยคำพิพากษา หรือคำสั่ง
              (๓) บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม

              (๔) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำเลย คุ่กรณี ผู้มีส่วนได้รับความคุ้มครองและความช่วยเหลือ
    เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็น
    ธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง
              (๕) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับความคุ้มครองและความช่วยเหลือ
    ที่จำเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน  ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ให้เป็นไปตามที่กฏหมายบัญญัติ
              (๖) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการ
    ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฎิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวความรุนแรงทางเพศ
              (๗) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธฺได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง
    รวดเร็ว และเป็นธรรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร
    การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

                                                   
                   (แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม )
             
                         มาตรา ๘๑" รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม ดังต่อไปนี้
                (๑) ดูแลให้มี การปฎิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถุกต้อง
    รวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือและให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน และจัดระบบงาน
    ราชการและงานของรัฐอย่างอื่นในกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพโดยให้ประชาชนและองค์กรวิชาชีพมีส่วนร่วม
    ในกระบวนการยุติธรรมและช่วยเหลือประชาชน
     
     

    sukon1800

    • บุคคลทั่วไป
    Re: กฎหมาย ควรรู้ พ.ศ.2550 แบย่อ
    « ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2009, 08:10:44 pm »
  • Publish
  • Publish
  •             (๒) คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการละเมิด
    ทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และโดยบุคคลอื่น และต้องอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
                (๓) จัดให้มีกำหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฎิรูปกฎหมายที่ดำเนินการเป็นอิสระเพื่อปรับปรุง
    และพัฒนากฎหมายของประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยต้องรับฟังความคิดเห็น
    ของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายนั้นประกอบด้วย
                (๔) จัดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองคืกรเพื่อปฎิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินการเป็นอิสระ
    เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
                (๕)สนับสนุนการดำเนินการขององคืกรภาคเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
    โดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว

             ( ในเรื่องที่ผมจะกล่าวถึงนี้มีทั้งกฎหมายอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา )

    มาตรา ๖๔ มีหลักว่า  "บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าสาลเห็น
    ว่าตามสภาพและพฤิการณ์ ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้น เป็นความผิด ศาลอาจ
    อนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้นศาลจะลงโทษน้อย
    กว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงไดก็ได้
     
          มาตรา(๒)มีหลัก"บุคคลจะต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น
    บัญญัติเป็นความผิด เเละกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย"

       "ตัวอย่าง" มาตรา ๓๐๓ มีหลักว่า"หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษ
    จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          การทำแท้ง หมายความว่า     กระทำให้ลูกตายก่อนคลอดออกมามีชีวิต จะทำด้วยวิธีใดก็ตาม เช่น การกินยา
    ให้ทารกในครรภ์ตาย หรือการฉีดยาให้ตาย หรือ การให้เครื่องดูดทารกออก ส่วนใหญ่จะไปให้แพทย์ตามคลินิกทำซึ่งจะ
    มีข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่ประจำ

        "เช่น" นางสาวไก่ได้เสียกับนายมีจนนางสาวไก่ ตรั้งครรภ์ได้ ๒ เดือนนางสาวไกกลัวพ่อแม่จะรู้ว่าตนตั้งภรรภ์จึง
    ได้กินยาเพื่อให้ทารกในครรภ์ตายหากทารกในครรภ์ตายสมเจตนาของนางสาวไก่ นางสาวไก่ก็มีความผิดฐานทำให้ตน
    เองแท้งลูก เพราะได้มีกฎหมายอาญาบัญญัติเอาไว้เช่นนั้น นางสาวไก่จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้ตนเองพ้นจาก
    ความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ ยกเว้นเสียแต่ นางสาวไก้นี้ไปอยู่ต่างประเทศนานนับเป็นสิบกว่วปีแล้วจึงไม่รู้ว่าการทำ
    แท้งนั้นผิดกฎหมายเพราะขณะก่อนที่นางสาวไก่จะไปต่างประเทศในขณะนั้นกฎหมายยังมิได้บัญญัติเอาไว้ว่าการทำแท้ง
    นั้นผิดกฎหมาย นางสาวไก็จะต้องแสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่า ผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่น
    นั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ เช่น ความผิดที่หญิงทำให้ตนเองแท้งลูก
    กำหนดโทษจำคุกไม่เกินสามปีศาลอาจใช้ ดุลพินิจ ให้จำคุกครึ่งเดือนก็ได้ แต่จะไม่ลงโทษเลยนั้นศาลจะทำมิได้  "ครับ"

                          "โทษตามกฎหมายอาญามี ๕ สถาน "
        (๑) ประหารชีวิต กฎหมายเก่าให้เอาไปประหารด้วยใช้ปืนยิง แต่ปัจจุบันได้มีการแก้ไขใหม่ คือ ผู้ใดต้องโทษ
    ประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาให้ตาย หรือ สารพิษให้ตาย

    sukon1800

    • บุคคลทั่วไป
    Re: กฎหมาย ควรรู้ พ.ศ.2550 แบย่อ
    « ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2009, 08:10:58 pm »
  • Publish
  • Publish
  •    (๒) จำคุก คือโทาซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว ให้ส่งตัวจำเลยเข้าไปคุมขังในเรือนจำ เช่น เรือนจำบางขวาง
    ตามระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ในคำพิพากษา เช่น จำคุกจำเลยตลอดชีวิต หรือจำคุกจำเลยโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา
    เช่น จำคุกจำเลย ๑ปี หรือ ๕ปีเป็นต้น เมื่อครบกำหนดเวลาที่ศาลสั่งจำคุกแล้ว ศาลก็จะออกหมายปล่อยจำเลยให้พ้นจาก
    เรือนจำ ผู้นั้นก็จะได้รับอิสรภาพเป็นไทแก่ตัวเอง เพื่อกลับไปเป็นคนที่ดีในสังคมต่อไป
       (๓) กักขัง  ผู้ใดต้องโทษกักขัง ให้กักตัวไว้ในสถานที่กักขังซึ่งกำหนดไว้อันมิใช่เรือนจำ เช่น กักขังไว้ที่สถานีตำหรวจ
    หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน ศาลอาจเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุกมีกำหนดเวลาตามที่
    ศาลเห็นสมควรก็ได้ ถ้าความปรากฎแก่ศาลเองหรือปรากฎแก่ศาลตามคำแถลงของพนักงานอัยการ หรือผู้ควบคุมดูแล
    สถานที่กักขังว่า ผู้ต้องโทษกักขังฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ หรือ วินัยของสถานที่กักขัง

       มาตรา ๒๓ มีหลักว่า "ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกและในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ถ้า
    ไม่ปรากฎว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือปรากฎว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสหรับความผิดที่ได้กระทำ
    โดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ศาลจพิพากษาให้ลงโทษกักขังไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้นก็ได้

      มาตรา ๓๓๔ มีหลักว่า " ผู้ใดเอาทรัพย์ของผูเอื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำ
    ความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกพันบาท

       
       "สมมุติตัวอย่างว่า"  นายช้างได้ขโมมยโทรศัพท์มือถือของนายเอกในร้านซื้อขายมือถือ ศาลตัดสินลงโทษจำคุกนายช้าง
    สองเดือน เพรราะนายช้างให้การรับสารภาพและกระทำความผิดไป เพราะความยากจนเหลือทนทาน ไม่มีเงินจะซื้อนมให้ลูกกิน
    แลัตัวนายช้างเอง ก้เคยเป็นคนดีไม่เคยมีประวัติต้องรับโทษจำคุกมาก่อน ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษนายช้าง โดย
    การกักขังมีกำหนดสองเดือนก็ได้ ก็เป็นเรื่องของการใช้ดุลยพินิจของศาล คับ และคดีตามปันหานี้เป็นโทษที่ศาลได้
    ลงโทษไม่เกินสามเดือน ถ้าศาลมีคำพิพากษาลงโทษเกินกว่าสามเดือน ศาลจะใช้วิธีกักขังแทนโทษจำคุกไม่ได้คับ

        (๔) ปรับ   โทษปรับเป็นโทษในทางที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ศาลกำหนด โดยคำพิพากษษภายในขอบเขตที่กฎหมาย
    บัญญัติไว้เพื่อให้จำเลยชำระค่าปรับซึ่งเป็นเงินจำนวนหนึ่ง

     
    " ตังอย่าง  มาคตรา ๓๕๒ มีหลักว่า "  "ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
    เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป้นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทาจำคุกไม่
    เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    "สมมุติว่า"  นายดี ได้มอบเงินจำนวนหนึ่งพันบาทให้นางสาวแตนลูกจ้างไปฝากเพื่อเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยเมื่อ
    นางสาวแตนได้รับเงินแล้วจากนายดี ก็ไม่ได้นำเงินดังกล่าวไปฝากเข้าบัญชีของนายดีแต่อย่างใดกลับนำไปใช้เป็นส่วน
    ของตนเสีย ซึ่งนางสาวแตนอยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์ของนายดี จึงมีความผิดฐานยักอกทรัพย์ เพราะนางสาวแตน
    เบียดบังทรัพย์ดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริต
       
           จากตามที่ยกปัญหาขึ้นมาเป็นตัวอย่างนี้ ศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ไม่เกินหกพันบาท หรือทั้ง
    จำทั้งปรับก็ได้แล้วแต่ศาลจะเห็นนสมควรประการใด หรือศาลจะใช้ดุลยพินิจปรับนางสาวแตนอย่างเดียวก็ได้ แต่ต้องไม่
    เกินหกพันบาทตามที่กฎหมายกำหนด ศาลจะมีคำพิพากษาเกินหกพันบาทไม่ได้

    - ถ้าต้องโทษปรับต้องชำระค่าปรับตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล หากผู้ไดต้องโทาปรับและไม่
         ชำระค่าประบภานในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษาผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับ หรือมิฉนนั้นจะ

    sukon1800

    • บุคคลทั่วไป
    Re: กฎหมาย ควรรู้ พ.ศ.2550 แบย่อ
    « ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2009, 08:12:00 pm »
  • Publish
  • Publish

  •       ถูกกักขังแทนค่าปรับ ในการกักขังแทนค่าปรับนั้นให้ถืออัตราสองร้อยบาทต่อหนึ่งวัน เมื่อผู้ต้องโทษปรับถูก
          กักขังแทนค่าปรับครบกำหนดแล้วให้ปล่อยตัวในวันถัดจากวันที่ครบกำหนด ถ้าเงินค่าปรับมาชำระครบแล้ว
          ให้ปล่อยตัวไปทันที

       (๕) ริบทรัพย์สิน  " เป็นโทษที่ลงแก่ทรัพย์สินเป็นสำคัญ ไม่ใช่เป้นการลงโทษบุคคลโดยไม่ต้องคำนึงถึงตัวบุคคลว่า
    ได้กระทำความผิดหรือไม่ เช่น  "นายต่อ"มีปืนที่ใช้ฆ่า"นายไข่ตาย"ถือว่าอาวุธปืนได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือ"นายเมฆ"
    มีระเบิดไว้ในบ้านเพื่อเตรียมการไปวางระเบิดสถานีตำรวจ แม้จะยังไม่ได้กระทำความผิด ศาลก็มีอำนาจสั่งริบได้ หรือ
    อาจจะเป้นทรัพย์ซึ่งบุคคลไดมาโดยการกระทำความผิด เช่น "นายดำ"ได้สร้อยคอทองคำของมีค่า โดยการชิงทรัพย์เป็น
    ต้น ทรัพย์สินซึ่งศาลพิพากษาให้ริบให้ตกเป็นของแผ่นดิน


                         "ความผิดลหุโทษ"

              คามผิดลหุโทษ  คือ  ความผิดซึ่งต้องระห่างโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งเดือนหรอปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำ
    ทั้งปรับ ซึ่งเป็นความผิดเล็กๆน้อยๆ บางความผิดก็ไม่มีโทษจำคุกมีแต่โทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำความผิดชำระ
    ค่าปรับแล้ว คดีอาญาก็เป็นอันเลิกกันไป " เช่น  "
     
               มาครา ๓๖๗ มีหลักว่า "ผู้ใดเมื่อเจ้าพนักงานถามชื่อหรือที่อยู่เพื่อปฎิบัติการตามกฎหมายไม่ยอมบอกหรือ
    แกล้งบอกที่อยู่อันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท"
             
              มาตรา ๓๗๐ มีหลักว่า " ผู้ใดส่งเสียงทำให้เกิดเสียง หรือกระทำความอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันสมควรจนทำให
    ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อยต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท"

              มาตรา ๓๗๑ มีหลักว่า "ผู้ใดพาอาวุธในเมือง หมู่บ้านทางสาธารณะโดยเปิดเผย หรือโดยไม่มีเหตุสมควร
    หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้น เพื่อนมัสการ การรื่นเริง หรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
    และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น"

              มาตรา ๓๗๒ มีหลักว่า "ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณะ หรือกระทำโดยประการ
    อื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้ารอยบาท

               มาตรา ๓๗๓ มีหลัก"ผู้ใดควบคุมดูแลบุคคลวิกลจริต ปล่อยปละละเลยให้บุคคลวิกลจริตนั้นออกเที่ยวไปโดย
    ลำพัง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

               มาตรา ๓๗๔ มีหลักว่า "ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่
    ตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

               มาตรา ๓๗๕ มีหลักว่า"ผู้ใดกระทำให้รางระบายน้ำ ร่องน้ำหรือท่อระบายของโสโครก อันเป็นสิ่งสาธารณะเกิด
    ขัดข้องหรือไม่สะดวก ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

               มาตรา ๓๗๖ มีหลักว่า" ผู้ใดยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน ต้องระวางโทษจำคุก
    ไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    (   .......ยังมีอีกหลายมาตรา กำลัง พิมพ์ให้อยู่ คับ............)  sukon1800

    sukon1800

    • บุคคลทั่วไป
    Re: กฎหมาย ควรรู้ พ.ศ.2550 แบย่อ
    « ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2009, 10:29:12 am »
  • Publish
  • Publish


  •             มาตรา ๓๗๗ มีหลักว่า " ผู้ใดควบสัตว์หรือสัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้ให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพังในประการ
    ที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                 มาตรา ๓๗๘ มีหลักว่า "ผู้ใดเเสพสุราหรือมึนเมาอย่างอื่น จนเป็นเหตุให้ตนเมา ประพฤติวุ่นวายหรือครองสติ
    ไม่ได้ขณะอยู่ในถนนสาธาณะ หรือสาธารณะสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท"

                 มาตรา ๓๗๙ มีหลกว่า "ผู้ใดชักหรือแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวันหรือปรับไม่เกิน
    ห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

                "การกระทำความผิดลหุโทษแม้กระทำโดยไม่เจตนาก็เป็นความผืด"
    หมายเหตุ  ความผิดลหุโทษนั้นมิได้มีอยู่ในกฎหมายอาญา นะครับ  กฎหมายอื่นๆก็มี เช่น
       - กำหมายจาจรทางบก"ห้ามมิให้ผู้ใดทำความเสียหาย ทำเลย ซ่อนเร้น เปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้าย ขีดเส้น หรือทำ
                  ให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งสัญญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรที่เจ้าพนังงาน เจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานติดตั้ง
                  เอาไว้ หรือทำให้ปรากฎในทาง หากผู้ไดฝ่าฝืน หรือไม่ปฎิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่องพันบาท
                  ไม่มีโทษจำคุก หรือ

       - กฎหมายว่าด้ายรักษาความสอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง เช่น ห้ามมิให้ผู้ใดบ่วนหรือถ่มน้ำลาย เสมหะ
                  บ้วนน้ำหมาก สั่งน้ำมูก เทหรือทิ้งสิ่งใดๆลงบนถนน หรือพื้นถนน หรือพื้นเรือนโดยสาร หรือสิ่งปฎิกูล หรือ
                  มูลฝอย ในสถานสาธารณะนอกภาชนะ หรือที่ราชการส่วยท้องถิ่น  ได้จัดไว้ถ้าฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตาม มีโทษ
                  ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ไม่มีโทษจำคุก เมื่อท่านได้ชำระค่าปรับตามที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบค่าปรับเเล้ว
                  ท่านก็ไม่ต้องรับโทษอาญา  ครับ
           
                      ในคดีอาญาถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำ
    ความผิดเป็นอันขาดอายุความ
          (๑) ยี่สิบปี  สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต
          (๒) สิบห้าปี  สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงสิบปี
          (๓) สิบปี      สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
          (๔) ห้าปี      สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี
          (๕) หนึ่งปี    สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น

    หมายเหตุ   จะต้องฟ้องต่อศาลและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลด้วยนะครับ ไม่ใช่เรื่องอยู่ที่พนักงานสือสวนซึ่ง
    ยังไม่ได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล อายุความอาจขาดก่อนฟ้องต่อศาลก็ได้

                มาตรา  ๙๖ มีหลักว่า " ในกรณีที่ความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ภายใน สามเดือนนับแต่
    วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นอัดขาดอายุความ"

        - ความผิดอันยอมความได้ หรือที่เรียกว่า เป็นความต่อส่วนตัว เช่น ความผืดฐานบุกรุก ยักยอกทรัพย์ ทำให้เสีย
    ทรัพย์ ดูหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเพศ เช่น
             ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น วรรคแรก (ดูหน้า17) หรือความผิดฐานกระทำอนาจารบุคคลอายุต่ำกว่า 15ปี
      โดยขู่เข็นด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลอื่นนั้นในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือ
      โดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอิ่น
            ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับออันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย เป็น
        ความผิดยอมความได้

    sukon1800

    • บุคคลทั่วไป
    Re: กฎหมาย ควรรู้ พ.ศ.2550 แบย่อ
    « ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2009, 10:29:40 am »
  • Publish
  • Publish
  •    
         - แต่ถ้าเป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ ซึ่งอยู่ในความดุแล ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่
      ราชการหรือผู้อยู่อาศัยในความครอบครอง ในความพิทักษ์ หรือในความอนุบาล เป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้
                              ความผิด ตามที่ผมกว่าเอาไว้นี้ ท่านจะต้องไปร้องทุกข์ที่สถานนี
    ตำรวจภายในกำหนดสามเดือนนับตั้งแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผูกระทำความผิด มิฉนั้นแล้วคดีก้เป้นอันขาดอายุความ ครับ

                   "โทษให้เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้ต้องกระทำความผิด"


                      " อันตรายสาหัสตามกฎหมายฮาญามี ๘ ประการ "
      (๑) ตาบอด หูนวก ลิ้นขาด หรือ เสียฆาตประสาท
      (๒) เสียวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
      (๓) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
      (๔) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
      (๕) แท้งลูก
      (๖) จิตพิการอย่างติดตัว
      (๗) ทุพพลภาพ หรือ ป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
      (๘) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณีกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบปี

          "โดยทุจริต" หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ทีมิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมาายสำหรับตยเองหรือผู้อื่น
     ตัวอยาง...เจ้าทรัพย์จับำเลยคุ้นเคยชอบพอกัน เจ้าทรัพย์เป็นนี้จำเลยอยู่ จำเลยมาที่บบ้านเจ้าพรัทย์และหยิบเอาปืน
    ไปโดยบอกกว่าแก่คนในบ้าน เจ้าพรัทย์ว่าจะเอาปืนไป ปากน้ำ ต่อมาเจ้าทรัพยืไปทวงถาม จำเลยก็รับว่าเอาปืนจริง แต่
    ต้องใช้นี้ก่อนจึงจะคืนปืนให้ ศาลตัดสินว่า รูปคดีไม่ผิดลักมรัพย์ เพราะไม่มีเจตนาลักปืน จำเลยประสงค์เพื่อจะยึดปืน
    ประกันนี้เท่านั้นเอง แต่โดยเหตุที่ชอบพอคุ้นเคยกับจำเลยอาจทำโดยถือวิสาสะ นะครับ
     
        "สาธารณสถาน" หมายถึง สถานทีใดๆซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ เช่น สวนจตุจักร สวนลุมฯ
    ที่สำคัญจะต้องดผูเวลาเปิดให้เข้าด้วย นะครับ หรือเวลาห้ามเข้าด้วย คือ เวลาปิดสวนสาธารณะนั้งเอง หรือการข้ามชม
    ภาพยนตร์ใรโรงภาพยนตร์เขาก็เวลาเปิดและปิด หากว่าสถานที่สาธารณสถานนั้นเขาปิดเเล้ว เราฝ่านฝืนข้อข้ามโดย
    เข้าไปนอกเวลาทำการ เราอาจจะผิดข้อหาบุกรุกก็ได้ นะครับ สาธารณสถานที่เขาอาจให้เข้าไปได้ เฉพาะบุรุษ สตรี
    หรือพระก็ได้ ถนนหลวงที่ประชาชนใช้ประโยชย์ร่วมกันก็เป็นสาธารณสถาน  หรือ ถนนที่จะเข้าออกติดต่อกันได้ใน
    หมู่บ้านก็เป็นสาธารณสถาน

         " เคหสถาน" หมายถึง ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือนโรง เรือ หรือ แพซึ่งคนอยู่อาศัย   และให้
    หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม รถหรือเรือซึ่งใช้เป็ที่พักระหว่าง
    เดินทางและทำงาน หรือท่องเที่ยวเป็นที่หลับนอนเป็นประจำระหว่างทางเป็นเคหสถาน

          "อาวุธ" หมายความรวมถึง สิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสุภาพ แต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึง
    อันตรายสาหัสอย่างอาธ แยกอธิบายให้เข้าใจได้ ๒ ประเภท
     

    ออฟไลน์ SE

    • Administrator
    • Hero Member
    • *********
    • กระทู้: 4 271
    • คะแนนน้ำใจ: 100
    Re: กฎหมาย ควรรู้ พ.ศ.2550 แบย่อ
    « ตอบกลับ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2009, 12:07:29 pm »
  • Publish
  • Publish
  • มีประโยชน์ครับ  8)

    sukon1800

    • บุคคลทั่วไป
    Re: กฎหมาย ควรรู้ พ.ศ.2550 แบย่อ
    « ตอบกลับ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2009, 01:04:26 pm »
  • Publish
  • Publish
  •               ๑."สิ่งซึ่งเป็นอาวุธโดยสุภาพ"หมายถึง สิ่งซึ่งโดยสภาพแล้วใช้ทำให้อัตรายแก่ร่างกายบาดเจ็บสาหัส
    หรือถึงตายได้โดยตรง เช่น ปืน ระเบิดมือ ดาบ มีดขนาดใหญ่ อาวุธเคมี แก๊สพิษ อาวุธโดยสภาพนี้ เมื่อใช้ทำอันตรายแก่
    กายถึงสาหัสได้โดยไม่จำต้องเลือกว่าเป็นส่วนไหนของ่างกาย ทั้งนี้เราจะต้องพิจรรณาที่รูปร่างขนาด และความร้ายแรง
    ของอาวุธด้วยเป็นสำคัญ
                 
                  ๒."สิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธในสภาพ" กรรีสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธจะถือว่าเป็นอาวุธได้จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฆ์ข้อ
    ใดหรือข้อหนึ่งดังนี้

                  ๑."สิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพแต่ใช้ได้" ประทุษร้ายร่างการถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ เช่น นายขาว ใช้
    กรรไกรขาเดียวที่ใช้ตัดผ้าแทงไปที่แขน นายเขียว ได้รับบาดเจ็บ กรรไกรถึงเเม้นจะไม่เป็นอาวุธโดยสุภาพ แต่เทียบได้
    กับมีดจึงเป็นอาวุธ

                  ๒."สิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธแต่เจตนา" จะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ เช่น  นายแดง
    โกรธ นายสอง จึงใช้เหล็กแหลมเจาะกระสอบเข้าสารโดยเจตนาจะแทง นายสอง แต่ นายสอง หลบทัน อันนี้ก็ถือว่า เทียบ
    ได้กับมีดจึงเป็นอาวุธ ถึงแม้น นายแดงจะแทงนายสอง ไม่ได้ก็ตาม


        "หมายเหตุ" แม้ว่าวัตถุบางอย่างจะใช้ทำอันตรายบุคคลถึงสาหัส เช่น ใช้เข็มเย็บผ้า ไม้จิ้มฟัน ใช้แทงลูกตาให้บอด
    เทียบไม่ได้กับอาวุธจึงไม่เป็นอาวุธเพราะวิธีการที่ใช้เทียบไม่ได้กับอาวุธโดยสภาพ เช่น มีดขนาดใหญ่ มีด ดาบ
    หนังสติ๊กนั้นตามธรรมดาเป็นขอวเด็กยิงอะไรเล่น เมือไม่ปรากฎว่าอาจใช้ทำร้ายร่างกาย ได้ถึงสาหัสผิดแปลกไปจาก
    อาวุธธรรมดาแล้ว ไม่ใช่อาวุธ (คำพิพากศาลฎิกาที่  ๘๘๖/๒๔๗๖ )

       " ใช้กำลังประทุษร้าย" หมายถึง ทำการประทุษร้ายแก่กาย หรือจิตใจของบุคคลไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพ
    กระทำ หรือ ด้วยวิธีอื่นใด และให้หมายคว่มรวมถึง การกระทำใดๆ ซึ่งเป็นเหตุ ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่
    สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยา ทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใดอันคล้ายคลึงกัน

        "การประทุษร้ายแก่จิตใจ" เช่น ทำให้ตกใจ ทำให้หมดสติ
        "การใช้แรงกายภาพ"  เป็นการประทุษร้ายโดยการใช้กำลังกายของบุคคลผู้กระทำต่อบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเป็น
    ผู้ถูกกระทำ เช่น การชกต่อย ตบตี ถีบ เตะ

         "การใช้กำลังประทุษร้าย" ให้หมายความรวมถึงการกระทำที่เป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่
    สามรถขัดขืนได้ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา การสะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใดอันคล้ายคลึงกัน เช่น ใชยาเบือเมา ใช้กิน
    จนกมดสติ หรือ มอมเหล้าจนหมดสติ หรือ ใชควันรมเพื่อใหเมา

         "ผู้ต้องหา" หมายถึง บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล
         "จำเลย"  หมายถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้ว โดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด
         "การสือสวน " หมายถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจได้ปฎิบัติไป
    ตามอำนาจหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด

         "การสอบสวน " หมายถึง การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวล
    กฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือพิสูจน์ความผิดและ
    เพื่อจะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องลงโดทษ

     


    Facebook Comments