ผู้เขียน หัวข้อ: สอนเขียนโปรแกรม (รู้จักคอมพิวเตอร์เบื้องต้น) โดย อาจารย์อารยา โพธิสรณ์  (อ่าน 7382 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ SE

  • Administrator
  • Hero Member
  • *********
  • กระทู้: 4 271
  • คะแนนน้ำใจ: 100
สอนเขียนโปรแกรม (รู้จักคอมพิวเตอร์เบื้องต้น)
โดย อาจารย์อารยา โพธิสรณ์
ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีน้องๆที่มาใหม่ เข้ามาเป็นลูกพระวิษณุแห่งมหาวิทยาลัยอุบลฯ ก่อนที่จะมาถึงหน้านี้
น้องๆคงอ่านเนื้อหาสาระมาเพียบเลยคงเหนื่อยใจที่จะอ่านเรื่องที่พี่มาร์จจะสอนแย่อยู่แล้ว เพราะงั้นพี่มาร์จจะพาเขียน
โปรแกรมแบบครึ่งชั่วโมงได้พื้นฐานไปเขียนโปรแกรมได้เลยดีกว่า งานนี้พี่มาร์จจะไม่เน้นที่ภาษาใดภาษาหนึ่งแต่จะ
ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการเอามันมาใช้งานในเชิงวิศวกรรมมากกว่า ทั้งนี้เขียนโปรแกรมภาษาใด
นั้น น้องๆต้องรอดูว่าอาจารย์สาวจอมโหดแห่งภาคไฟฯ จะเลือกภาษาอะไรมาให้น้อง ๆ เรียนกันตอนลงวิชาอันเลื่อง
ชื่อ Com. Programming
คอมพิวเตอร์นั้นสำคัญไฉนในการเรียนวิศวกรรม ภาคไหนๆก็จะได้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งนั้น และส่วนมากก็ใช้
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP หรือรุ่นใหม่กว่านั้นก็คือ Longhorn พี่มาร์จเรียกพวก Windows ของ
Microsoft ว่าระบบปฏิบัติการ เพราะถ้าไม่มีระบบนี้แล้วคอมพิวเตอร์ของเราๆท่านๆก็จะเป็นกล่องเครื่องมือ
อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำอะไรไม่ได้เลยนอกจากมีแสงกะพริบวิบวับ และมีข้อความขึ้นมาด่าที่หน้าจอ เพราะงั้นเมื่อมีเครื่อง
คอม ก็ต้องมีระบบปฏบัติการให้กับมันซะ บางคนก็จะเรียกมันหรูๆว่าโอเอส มาจาก Operating System เจ้าค่ะ
ทีนี้มีระบบปฏิบัติการแล้วเราก็ต้องมีโปรแกรมประยุกต์เอาไว้ใช้ทำการบ้านส่งคุณครู ชุดโปรแกรมประยุกต์
คู่ใจของ Windows ก็คือ Microsoft Office ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่ามันใช้งานเกี่ยวกับออฟฟิศ ที่แปลว่าสำนักงาน
สำนักงานเค้าทำไรกันไอ้โปรแกรมชุดนี้มันช่วยได้ ได้แก่พิมพ์งาน ตารางคำนวน ฐานข้อมูล งานนำเสนอ ที่เอาไว้
ช่วยชีวิตเวลาไปรายงานหน้าชั้นนั่นเอง MS-Office ประกอบไปด้วย Word, Excel, PowerPoint, Access และ OutLook
เป็นพื้นฐาน พิมพ์การบ้าน รายงานส่งครูก็ใช้ Word เลย ถ้าทำตารางคำนวนก็..นี่เลย Excel ช่วยได้ ถ้าต้องไปรายงาน
หน้าชั้น ซึ่งในมหาลัยเนี่ยะเค้าเรียกว่าพรีเซนต์ (Present) ก็ต้องใช้ PowerPoint มาช่วย ที่เหลือเป็นของพวกเซียนเรายัง
ไม่ว่ากันตอนนี้
เอ๊...มันก็มีโปรแกรมตั้งเยอะตั้งแยะให้เราใช้ ทำไมเราต้องมาเรียนเขียนโปรแกรมอีกล่ะเนี่ยะ แล้วเรียนจบเรา
จะเขียนโปรแกรมแบบ MS-Office ได้เลยอ๊ะเปล่า อันนี้พี่มาร์จบอกได้เลยว่าไม่มีทาง เอาแค่เขียนให้มันบวกลบคูณหาร
กันก็เขียนกันหูตูบแล้วจ้า อาจารย์จอมโหดภาคไฟเค้าจะสอนให้พวกเราเขียนโปรแกรมคำนวนโจทย์ปัญหาต่างๆ ที่มัน
ต้องทำซ้ำๆ หรือมันต้องตรวจสอบเงื่อนไขก่อนทำ หลังทำ ซึ่งมันเป็นวิธีการหาคำตอบในเชิงวิศวกรรมทั้งสิ้น เป็น
พื้นฐานแท้ๆของงานวิศวกรรมเลยแหละ ไอ้วิชาคอมโปรแกรมเลยเป็นวิชาพื้นฐานที่น้องต้องลงกันตอนปีหนึ่ง เพราะ
ขึ้นปีแก่ๆไป อาจารย์ในภาควิชาต่างๆก็ชอบจัง สั่งการบ้านให้ไปเขียนโปรแกรมมาส่ง แล้วยังบอกอีกนะว่าภาษาอะไร
ก็ได้ งั้นเขียนภาษาไทยเลยเป็นไร... อ้าว..ไม่ใช่นะจ๊ะ อาจารย์เค้าหมายถึงภาษาเขียนโปรแกรม
คอมพิวเตอร์นี่จริงๆมันโง่นะ รู้จักแค่เปิดกับปิด ศูนย์กับหนึ่ง เพราะรากฐานการประกอบเครื่องมันทำมาจาก
หลอดไฟ หรือทรานซิสเตอร์นั่นเอง ไฟมีติดมีดับ ถ้ามีหลายๆ หลอด ก็สร้างรูปแบบของการติดดับได้หลายๆรูปแบบ
เลยนำมาสร้างเป็นคอมพิวเตอร์ เพราะงั้นโดยพื้นฐานที่สุดแล้วภาษาเครื่องของคอมคือศูนย์หนึ่ง หรือเลขฐานสอง
นั่นเองเจ้าค่ะ ทีนี้เราอยากให้คอมบวกเลขให้เราโดยสั่งมันเอง (ไม่ใช่เรียกโปรแกรม Calculator ขึ้นมาใช้นะยะ) เราก็
จำเป็นต้องสั่งด้วยภาษาเครื่อง 010101001100010101010101010101010101 รึเปล่า? โอพระเจ้าจอร์จ แล้วเราจะมานั่ง
จำไอ้ 0101 นี่เข้าไปได้ไง
เขียนโดย อาจารย์อารยา โพธิสรณ์ - 2
คนก็เลยคิดหาภาษาที่เหมือนภาษามนุษย์มากที่สุดมาเขียนเป็นโปรแกรม แล้วใช้ตัวแปลภาษาช่วยแปลให้
เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้เครื่องมันเข้าใจว่าโปรแกรมที่เราเขียนนั้นมีจุดประสงค์อันใดนั่นเอง หลังจากที่คุณคอมเข้าใจ
เรา เธอก็จะทำงานตามที่เราสั่ง
หน้าที่ของเราทีนี้ก็คือเขียนโปรแกรมในภาษาที่ใกล้ภาษามนุษย์ เรียกว่าภาษาเขียนโปรแกรม มีหลายภาษา
มากเลย ได้แก่ C, Basic, C++, Java, Fortran, Perl เยอะแยะไปหมด เราเขียนโปรแกรมภาษาไหนเราก็ต้องเขียนถูกไว
ยกรณ์ของภาษานั้น เหมือนเราพูดภาษาอังกฤษก็ต้องพูดให้ถูกแกรมม่านั่นเอง เพราะไอ้เจ้าตัวแปลภาษามันขี้ฟ้อง ถ้า
เราเขียนผิดมันจะฟ้องทันทีและโปรแกรมของเราถูกแปลไม่ผ่านก็ไม่สามารถนำไปทำงานได้เค้าเรียกว่ารันบ่ได้เน้อ...
ไม่ว่าภาษาไหนๆ ไวยากรณ์แบบไหน พื้นฐานมันมีอยู่ว่า ต้องประกาศตัวแปรให้เป็น เอาตัวแปรมาใช้งานได้
แล้วก็รับข้อมูลเข้า แสดงผลข้อมูลออก จบละ...เขียนโปรแกรม มีอยู่แค่นี้จริงๆ
ประกาศตัวแปร ....ทำไมต้องประกาศล่ะเนี่ยะ แล้วตัวแปรคืออะไรหว่า ตัวแปรก็เหมือนตัวแปรไม่ทราบค่า
ทางคณิตศาสตร์นั่นแหละน้องเอ๋ย ไอ้พวก x y ทั้งหลายนั่นแหละ แต่ทีนี้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นี่ค่อนข้างฉลาด (ก็คน
พยายามเขียนให้มันฉลาดไง) มันเลยตั้งชื่อตัวแปรได้ เช่น myvar, yourvar, ubar อะไรเทือกนี้ พอตั้งชื่อปั๊บเราต้องบอก
ด้วยนะว่าตัวแปรที่เราให้ชื่อมันเนี่ยะ เราจะเอามันไว้ใช้ทำไร อ้าว....เอาล่ะสิ ตัวแปรเอาไว้ทำไรหว่า.... มันทำไรไม่ได้
มากนอกจากเก็บค่า เพราะงั้นเราต้องบอกว่ามันจะเก็บค่าแบบไหน เราเลยต้องรู้จักชนิดข้อมูล
ชนิดข้อมูลที่เป็นพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมก็คือชนิดข้อมูลพื้นฐานที่เราใช้คิดเลข หรือพูดจากัน อัน
ได้แก่ จำนวนจริง จำนวนเต็ม ความจริง ความเท็จ ข้อความ ตัวอักษร หมดละ ชนิดข้อมูลหลักๆมีแค่เนี้ยะ แล้วทุกภาษา
เลยนะมันก็จะตั้งชื่อชนิดข้อมูลครือๆกันเลย เช่น


ชนิดข้อมูล                 Fortran                Java

จำนวนจริง                 REAL                    float
จำนวนเต็ม                 INTEGER               int
ความจริง ความเท็จ        BOOLEAN              boolean
อักขระ                    CHARACTER           Char
ข้อความ                  CHARACTER(10)      String

เพราะงั้นทีนี้เวลาอยากได้ตัวแปรมาไว้เก็บจำนวนจริง ถ้าเราพูดกันเป็น Fortran เราเลยต้องบอกว่า REAL ::
myvar ถ้าพูดกันเป็น Java เราเลยต้องบอกว่า float myvar; ไอ้เครื่องหมายต่างๆที่เพิ่มมามันเป็นไวยากรณ์ของภาษาที่เรา
ต้องจำนิดๆหน่อยๆ เหมือนเวลาเราพูดต้องมีจ๊ะจ๋านั่นแหละ พอได้ตัวแปรแล้วเราก็ใช้เครื่องหมายอันนึงกำหนดค่า
ให้กับตัวแปรของเราเพื่อให้มันเก็บค่าๆหนึ่งไว้ ตามที่เราต้องการ ในโลกนี้ไม่มีอะไรจะเท่ากันมากไปกว่าเส้นตรงสอง
เส้นขนานกันอีกแล้ว มันคือเครื่องหมายเท่ากับ (=) นั่นเอง ในการเขียนโปรแกรมเค้าใช้เท่ากับสำหรับการกำหนดค่า ที่
ใช้คำว่ากำหนดค่าก็เพราะว่ามันไม่ได้เท่ากับ เอ๊....พี่มาร์จนี่ ทำน้องงงเลย... คือว่ามันกำหนดให้ตัวแปรนี้เป็นค่านี้ ชื่อก็
บอกแล้วว่าเป็นตัวแปร มันก็แปรผันได้น่ะสิ มันเลยสามารถถูกกำหนดค่าใหม่ให้ได้เสมอ เรามาลองกำหนดค่าให้กับ
ตัวแปรที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ซะหน่อย ถ้าเป็น Java เราก็บอกว่า myvar=20.5; ถ้าเป็น Fortran เราก็ว่า myvar=20.5 ดู
Fortran สิไม่มีคะขาจ๊ะจ๋าเหมือน Java เลยเนอะ ดูเหมือนจะง่ายไม่ต้องจำ
เขียนโดย อาจารย์อารยา โพธิสรณ์ - 3



mutiplay

  • บุคคลทั่วไป
ขอบคุณครับ สำหรับพื้นฐานที่พอจะเข้าใจง่ายๆขึ้นครับ

utimatejame

  • บุคคลทั่วไป
สถาบันสอนเขียนโปรแกรมอัฉริยะ
http://www.EXPERT-PROGRAMMING-TUTOR.COM
สอนเขียนโปรแกรมตัวต่อตัวถึงบ้าน-ที่ทำงานของท่าน

รับสอนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยรุ่นพี่เกียรตินิยม จากวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จุฬาลงกรณ์มหาหาวิทยาลัย มีประสบการณ์ทำงานจริง เห็นผลแน่นอน สอนชัดเจนสนุก สอนได้ทั้งนั้น C/C++ ตั้งแต่เบสิก ไปจนถึงเรื่องลึกๆ ตั้งแต่ ประกาศตัวแปล loop class ไปจนถึง template สามารถสอนให้รู้เรื่องได้ สอนตั้งแต่ data structure ไปจบถึง database เรียนแล้วจะรู้สึกว่าการเขียนโปรแกรมเป็นเรื่องง่ายๆ สอนสำหรับเรียนเพื่อสอบ หรือ เรียนเพื่องาน ธุรกิจ ลองโทรมา แล้วจะรู้ว่ามันเยี่ยมมาก C#JavaVB มาเลยได้หมด เพราะประสบการณ์แน่น อัลกอปึก math แน่น โทร 085 350 7540

รับสอนดังต่อไปนี้และอื่นๆอีกมากมาย

สอนอนเขียน C#
สอนเขียน Visual Basic 2008

สอนเขียน C Programming

สอนเขียน C++ Programming
สอนเขียน C++ Programming Advance

สอนเขียน Java
สอนเขียน PHP
สอนเขียน javascript

สอนเขียน Ajax + Web framework

Database ด้วย SQL

สอนเขียน PL/SQL

ควบคุม Hardware ด้วย Serial PortParallel Port

สอนเขียน Microcontroller C51ARMPIC

สอนใช้ joomla
สอนการทำ website ด้วยตัวของท่านเอง



สอนวิชา Data structure
สอนวิชา Algorithm
ทีมติวเตอร์ของเราทุกคนสำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวะกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับเกียรตินิยมทุกคน จึงการันตี ได้ถึงคุณภาพการสอนของเรา
เราสอน โปรแกรมมิ่ง มากมายหลายภาษาตามแต่ความต้องการของท่าน เช่น CC# C++ Java VB.NET PHP Asp.net Jsp รวมถึงการเขียนเวบไซต์ และ เขียนเวบแอพพลิเคชั่นอีกด้วย ฯลฯ
นอกจากนี้เรายังสอน การจัดการฐานข้อมูล การออกแบบฐานข้อมูล การเขียนโปรแกรมผ่าน Network การเขียนโปรแกรมบน Linux-Unix OpenGL อีกด้วย

รวมถึง ADVANCE TOPIC ทาง COMPUTER เช่น วิชา Data structure วิชา Algorithm ระบบ Data mining AI ฯลฯ
สำหรับนักศึกษาที่ต้องการ ที่ปรึกษาทำโปรเจคหรือการช่วยเหลือการทำโปรเจค เรายินดีช่วยเหลือ

เนื่องด้วยเราสอนแบบตัวต่อตัวท่านที่เรียนกับเราจึงสามารถออกแบบการเรียนได้ว่าอยากเรียนเรื่องอะไร ตอนไหน จึงจะเหมาะสมกับตัวท่านเองที่สุด และเราคิดค่าบริการเป็นชั่วโมงในราคากันเอง เราสอนโดยนัดกับท่าน ในเวลาและสถานที่ที่ท่านสะดวก เช่นที่บ้านท่าน หรือ ที่ทำงานของท่าน(เฉพาะในกรุงเทพ) หรือตามห้างสรรพสินค้า ทั่วไป ที่ท่านสะดวกที่สุด โดยเราจะมี computer notebook ให้ท่านลองของจริงกับงานจริงของท่าน ตัวอย่างจริง ทำให้ท่านเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
ใครที่ควรให้เรารับใช้ไปสอน
1 นักเรียน ระดับ ม.ปลาย ที่เรียนเขียนโปรแกรมในห้องไม่รู้เรื่อง หรือ รู้เรื่องแต่ต้อง การเรียนแบบเข้มเพื่อเตรียมตัวสอบ โอลิมปิกวิชาการ
2 นิสิต นักศึกษา ที่เรียนเขียนโปรแกรมในชั้นเรียนไม่รู้เรื่อง หรือต้องการเรียนเสริม วิชา Data structure วิชา Algorithm วิชา Database Design หรือ รู้เรื่องแต่ต้อง การเรียนแบบเข้มเพื่อเตรียมตัวสอบ เพื่อทำเกรด ให้ได้ A
3 นิสิต นักศึกษา ที่เรียนไม่ได้เรียนมาทาง Computer Science Computer Engineering โดยตรงแต่มีใจรักการเขียนโปรแกรม และตั้งใจจะจบออกไปประกอบอาชีพด้านนี้
4 คนทำงาน ที่เรียนไม่ได้เรียนมาทาง Computer Science Computer Engineering โดยตรงแต่มีใจรักการเขียนโปรแกรม และตั้งใจจะประกอบอาชีพด้านนี้เลยต้องการความรู้เพิ่มเติมอย่างรู้จริง เพื่อทำงาน
5 คนทำงาน ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ให้ตัวเองให้ทันกับการ เปลี่ยนแปลงของโลก และของธุรกิจ จึงอยากเรียนเขียนโปรแกรม เพื่อนำไปใช้ในการทำงาน ปรับปรุงระบบงาน
6 เจ้าของธุรกิจ ที่ต้องการทำระบบ IT ของบ. ตัวเอง ให้ใช้งานได้จริง อาจจะลองจ้างคนมาเขียนแล้วไม่ถูกใจ ไม่ตรงตามความต้องการ จึงอยากทำเอง ซึ่ง ถ้าคุณเรียนกับเราแล้ว จะรู้ว่าทำโปรแกรมเองไม่ยากอย่างที่คิด นอกจากนี้ ยังมีข้อดีกว่าจ้างคน มาเขียนคือ สามารถปรับปรุงต่อยอดได้เองในอนาคต อาจจะทำ Website ของตัวเอง ที่ link กับ database ของการขายหน้าร้าน ของระบบจัดการลูกค้า
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 085 350 7540
หรือทาง EMAIL: INFO@EXPERT-PROGRAMMING-TUTOR.COM NTPRINTF@GMAIL.COM
http://www.EXPERT-PROGRAMMING-TUTOR.COM

ออฟไลน์ danai8029

  • VIP
  • Hero Member
  • *******
  • กระทู้: 782
  • คะแนนน้ำใจ: 4
    • อีเมล์

ออฟไลน์ ฮัลโหล โมบาย Addy

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 752
  • คะแนนน้ำใจ: 11
  • การเรียนรู้ไม่มีคำว่า"จบ
    • อีเมล์
ขอบคุณมากๆ ครับ

ขอบคุณมากๆ ครับ

wtulite

  • บุคคลทั่วไป
 ตีมือ ตีมือ ขอบคุณค่ะ

ออฟไลน์ a_dmobile

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 16
  • คะแนนน้ำใจ: 0
    • อีเมล์
 ขอบคุณคร้าบ ขอบคุณคร้าบ ขอบคุณคร้าบ

 


Facebook Comments